ธราย อาร์ม

ธราย อาร์ม

กางเกงในแบรนด์ ‘Try Arm’ ตัวแรก จากสองแขนแรงงานผู้ไม่ยอมแพ้
ธราย อาร์ม
กางเกงในแบรนด์ ‘Try Arm’ ตัวแรก จากสองแขนแรงงานผู้ไม่ยอมแพ้

จุดเริ่มต้น (Beginning Point)

ผลจากการที่พนักงานจำนวน 1959 ชีวิต ที่ถูกบริษัทผู้ผลิตชุดชั้นในแบรนด์ดัง บอกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม ในวันที่ 29 มิถุนายน 2552 หลายเดือนต่อมา “1959” ได้กลายมาเป็นชื่อรุ่นของกางเกงชั้นในรุ่นแรก ที่ผลิตโดย Try Arm แบรนด์ชุดชั้นในเพื่อการต่อสู้ จากฝีมือของอดีตพนักงานที่ถูกเลิกจ้างนั้น พนักงานที่ถูกเลิกจ้างทั้งหมดนี้มีอายุงานระหว่าง 10 – 20 ปี ทุกคนรู้สึกว่าบริษัทปฏิบัติต่อพวกเขาไม่ต่างอะไรกับผักปลา (นึกจะทิ้งขว้างกันก็ทำอย่างง่ายดาย) เพราะบริษัทบอดี้แฟชั่นทำการเลิกจ้างทันทีโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า แม้ว่าพวกเขาจะได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน แต่บริษัทก็ได้ผิดต่อข้อตกลงที่เคยทำไว้กับสหภาพแรงงาน (ซึ่งรับรองโดยกฎหมาย พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ ปีพ.ศ. 2518) เกี่ยวกับการชดเชยในกรณีถูกเลิกจ้าง ซึ่งระบุไว้ว่าต้องมีการแจ้งล่วงหน้า และสำหรับพนักงานที่มีอายุงาน 6 ปีขึ้นไป ต้องได้รับเงินชดเชยเพิ่มอีกปีละ 20 วัน

แรงบันดาลใจ (Inspiration)

จิตรา คชเดช บอกว่า “เงินชดเชยที่พวกเธอได้รับนั้นมีค่าแค่ชุดชั้นในชั้นดีเพียง 40 ตัว” ดังนั้นการต่อสู้เพื่อประท้วงต่อการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจึงเริ่มต้นขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป 8 เดือน โดยไม่ได้รับการเหลียวแลใดๆ (ทั้งจากทางบริษัทและทางราชการ) พวกเธอจึงต้องต่อสู้ด้วยไพ่ใบสุดท้ายที่มีอยู่ นั่นก็คือ ฝีมือการตัดเย็บชุดชั้นในคุณภาพดี

สู่การสร้างสรรค์ (Social Innovation)

“ประท้วงไปก็ไม่มีใครสนใจ รัฐย่อมเอื้อประโยชน์กับนายทุนใหญ่อยู่แล้ว สู้มาทำสินค้าแข่งเลยดีกว่า ช่างฝีมือเราก็พร้อมทุกแผนก ทำไมจะทำไม่ได้ล่ะ” เสียงหนึ่งจากสาว Try Arm ดังขึ้นมา หลังจากวันนั้น “กางเกงในฝีมือแรงงานนอกระบบ” ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้ และการหาเลี้ยงปากท้องอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม

สู่การเปลี่ยนแปลง (Social Impact)

ทุกวันนี้ Try Arm มีออร์เดอร์เข้ามาสม่ำเสมอ จนมีกำไรพอสำหรับลงทุนเพิ่มและจ่ายค่าแรงให้ทุกคน โดยพวกเธอตกลงกันว่าจะรับค่าจ้างวันละ 250 บาท (ถ้ามีกำไรก็จะมีปันผลปลายปี) เงินจำนวนนี้ถือว่ายังน้อยกว่าสมัยทำงานให้บริษัทเดิม แต่ก็มากกว่าแรงงานขั้นต่ำ ซึ่งสำหรับบางคนแล้วแม้จะไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่แบกรับอยู่ แต่อย่างน้อยพวกเธอก็มีรายได้เลี้ยงชีพ มีงานที่ภาคภูมิใจ และที่สำคัญที่สุด คือได้ทำงานอย่างมีความสุข ไม่ถูกกดขี่จากใคร

ข้อมูลติดต่อ (Contact)

เบอร์โทร:
Email: tryarm.underwear@gmail.com
Website: http:///2010/06/contact-us.html
Facebook:

พร้อมรับการแบ่งปัน (Want to grow)

เงินทุน
ซื้อสินค้าและบริการ ระบุประเภทสินค้า/บริการ
สถานที่หรือช่องทางการจัดจำหน่าย
สถานที่จัดกิจกรรม
ที่ปรึกษา/ผู้เชียวชาญ/วิทยากร/ ในเรื่อง
อื่นๆ
ผู้เข้าชม  2093