บริษัท ภูมิใจ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

บริษัท ภูมิใจ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

ภูมิใจ คอร์ปอเรชั่น” เปิด S Model เชื่อมโยงต้นนํ้า กลางนํ้าและปลายนํ้า สร้างแชร์แวลูช่วยชุมชนพื้นที่เสี่ยง ตั้งเป้าปี 2563 ให้เกษตรกรเข้ามามีบทบาทในหุ้น พร้อมขยายฐานตลาดต่างประเทศ และเปิดตัวสินค้ากลุ่มอาหารและยา บริษัท ภูมิใจ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า บริษัท ภูมิใจฯ ปักธงนำร่องโครงการชุมชนในพื้นที่เสี่ยง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา นราธิวาส พัทลุง) โดยปัจจุบันมีพื้นที่กว่า 10 ครัวเรือน ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ในการส่งเสริมสนับสนุน มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ชุมชน โดยมีโมเดลใหม่ ที่เรียกว่า “S Model” เป็นการเชื่อมโยงต้นนํ้า กลางนํ้า ปลายนํ้า สร้างแชร์แวลู แบ่งปันกำไรกับชุมชน สร้างนวัต กรรมทางธุรกิจและเปิดโอกาสให้เกษตรกรมีบทบาทในฐานะพันธ มิตรหุ้นส่วน และเจ้าของหน่วยธุรกิจ โดยสร้างดิจิทัล แพลตฟอร์ม ให้เป็นฐานในการบริหารจัดการทั้งนี้ภูมิใจตั้งเป้าว่าปี2563 จะให้หุ้นบริษัทภูมิใจกับเกษตรกร โดยมีเงื่อนไขว่า 1. ผลผลิตที่ชุมชนป้อนให้กับบริษัทภูมิใจฯ จะได้แวลูจากเศษซากที่เกิดจากกระบวนการผลิตไปเพิ่มมูลค่า เช่น สินค้าในขบวนการผลิตเป็นปลา ก็จะมีเกล็ดปลา กระดูกปลา หนังปลา ที่สามารถนำไปขยายผลสู่ธุรกิจในกลุ่มเวชสำอาง หรืออาหารและยา ที่จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 2563 ภายใต้แบรนด์ “ภูมิใจ” 2. สินค้าจากชุมชนที่ป้อนเข้ามายังบริษัทภูมิใจฯ จะต้องเป็น ไปตามมาตรฐานที่บริษัทกำหนดไว้ เช่น ไม่มีสารปนเปื้อน ไม่ตัดต่อพันธุกรรม และมีการบริหารวัตถุดิบให้ขยะเป็นศูนย์หรือให้ความสำคัญเรื่อง Zero Waste 3. จะเกิดความร่วมมือกันโดยทำให้ภาคเกษตรกรเข้าถึงการสื่อสารและทำงานผ่านระบบ online conference เพื่อเชื่อมโยงการทำงานระหว่างหน่วยงานกลางที่กรุงเทพฯกับชุมชนได้ รวมถึงการนำระบบดิจิทัลเข้ามาบริหารจัดการข้อมูล (Data Log) สร้างศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวกับการบริหารฟาร์มการบริหารต้นทุนการผลิต การแจ้งยอดค่าใช้จ่ายรายได้ เป็นต้น
บริษัท ภูมิใจ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
ภูมิใจ คอร์ปอเรชั่น” เปิด S Model เชื่อมโยงต้นนํ้า กลางนํ้าและปลายนํ้า สร้างแชร์แวลูช่วยชุมชนพื้นที่เสี่ยง ตั้งเป้าปี 2563 ให้เกษตรกรเข้ามามีบทบาทในหุ้น พร้อมขยายฐานตลาดต่างประเทศ และเปิดตัวสินค้ากลุ่มอาหารและยา บริษัท ภูมิใจ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า บริษัท ภูมิใจฯ ปักธงนำร่องโครงการชุมชนในพื้นที่เสี่ยง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา นราธิวาส พัทลุง) โดยปัจจุบันมีพื้นที่กว่า 10 ครัวเรือน ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ในการส่งเสริมสนับสนุน มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ชุมชน โดยมีโมเดลใหม่ ที่เรียกว่า “S Model” เป็นการเชื่อมโยงต้นนํ้า กลางนํ้า ปลายนํ้า สร้างแชร์แวลู แบ่งปันกำไรกับชุมชน สร้างนวัต กรรมทางธุรกิจและเปิดโอกาสให้เกษตรกรมีบทบาทในฐานะพันธ มิตรหุ้นส่วน และเจ้าของหน่วยธุรกิจ โดยสร้างดิจิทัล แพลตฟอร์ม ให้เป็นฐานในการบริหารจัดการทั้งนี้ภูมิใจตั้งเป้าว่าปี2563 จะให้หุ้นบริษัทภูมิใจกับเกษตรกร โดยมีเงื่อนไขว่า 1. ผลผลิตที่ชุมชนป้อนให้กับบริษัทภูมิใจฯ จะได้แวลูจากเศษซากที่เกิดจากกระบวนการผลิตไปเพิ่มมูลค่า เช่น สินค้าในขบวนการผลิตเป็นปลา ก็จะมีเกล็ดปลา กระดูกปลา หนังปลา ที่สามารถนำไปขยายผลสู่ธุรกิจในกลุ่มเวชสำอาง หรืออาหารและยา ที่จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 2563 ภายใต้แบรนด์ “ภูมิใจ” 2. สินค้าจากชุมชนที่ป้อนเข้ามายังบริษัทภูมิใจฯ จะต้องเป็น ไปตามมาตรฐานที่บริษัทกำหนดไว้ เช่น ไม่มีสารปนเปื้อน ไม่ตัดต่อพันธุกรรม และมีการบริหารวัตถุดิบให้ขยะเป็นศูนย์หรือให้ความสำคัญเรื่อง Zero Waste 3. จะเกิดความร่วมมือกันโดยทำให้ภาคเกษตรกรเข้าถึงการสื่อสารและทำงานผ่านระบบ online conference เพื่อเชื่อมโยงการทำงานระหว่างหน่วยงานกลางที่กรุงเทพฯกับชุมชนได้ รวมถึงการนำระบบดิจิทัลเข้ามาบริหารจัดการข้อมูล (Data Log) สร้างศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวกับการบริหารฟาร์มการบริหารต้นทุนการผลิต การแจ้งยอดค่าใช้จ่ายรายได้ เป็นต้น

จุดเริ่มต้น (Beginning Point)

เจตจ ํานงแห่งกํารด ํารงค์อยู่ สร้างความรุ่งเรือง และสันติสุขในการอยู่ร่วมกันของชุมชน สิ่งแวดล้อม และทุกชีวิตอย่างยั่งยืน พันธกิจ 1)สร้างเสริมเศรษฐกิจชุมชน ให้เข้มแข็ง ด้วยการบูรณาการความร่วมมือระหว่าง ภาคธุรกิจ เอกชน ชุมชน และหน่วยงานภาครัฐ 2)พัฒนาโมเดลวิสาหกิจชุมชน (Social Enterprise) ที่เน้นความต้องการและส่งเสริมศักยภาพ ของชุมชน รวมทั้งการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นส าคัญ 3)พัฒนาธุรกิจ และชุมชนโดยยึดหลัก 4 ประการ Non-Chemical / Non-GMO / Zero Waste / Sustainable Environment

แรงบันดาลใจ (Inspiration)

“เริ่มที่ยากและเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้...ที่เหลือจะง่ายหมด” ศศิญา ศิลานุรักษ์ ผู้เริ่มก่อตั้งและผู้บริหารองค์กร เผยเมื่อคิดจะสร้างความแตกต่าง สิ่งที่ทำต้องแตกต่างอย่างมีนัยยะ ความสำเร็จก้าวแรกในการเป็น Start up วิสาหกิจชุมชน ของกลุ่ม บริษัท ภูมิใจ ในพื้นที่เสี่ยง ต้องใช้ใจนำทาง และการเรียงร้อย เชื่อมโยงศักยภาพของชุมชน ให้เข้าถึงการพัฒนาธุรกิจอย่างเป็นระบบ เข้าใจกลไกลการตลาด และความร่วมมือในการที่จะผลักดันให้ชุมชนเติบโตจากรากฐานที่มีความเข้าใจ มีการพัฒนา ปรับเปลี่ยนทัศนคติ ด้วยการวางใจ เชื่อใจซึ่งกันและกัน และยอมรับในความเป็นมืออาชีพ บูรณาการความร่วมมือของทั้ง ชุมชน เอกชน และภาครัฐ ในการขับเคลื่อน เราได้วางแนวทางให้ บริษัท ภูมิใจ เติบโตโดยกลุ่มเกษตรกร และชุมชนที่เข้ามามีส่วนร่วม มีส่วนเป็นเจ้าของ เปลี่ยนภูมิปัญญาและผลผลิตเป็นทุน ใช้ ดิจิตอล แพลตฟอร์ม เข้ามาช่วยบริหารจัดการ ประมวลผล และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน “ผลสำเร็จในครั้งนี้ ถูกขับเคลื่อนด้วย เจตจำนงที่ต้องการสร้างความรุ่งเรือง และสันติสุขในการอยู่ร่วมกันของชุมชน สิ่งแวดล้อม และทุกชีวิตอย่างยั่งยืน”

สู่การสร้างสรรค์ (Social Innovation)

ในเวลาเพียง 1ปี กับ 2เดือน ที่ผ่านมา สิ่งที่สร้างความสำเร็จและความแตกต่าง อย่างมีนัยยะ มีดังต่อไปนี้ 1)เสริมศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงปลา ในการพัฒนาผลผลิตระดับพรีเมี่ยม ยกระดับคุณภาพปลาน้ำจืด โดยวางตำแหน่งทางการตลาด ด้วย “ปลาแบล๊กเพิร์ล” (ไซอะมีส ทิลาเพีย) ที่พร้อมเสิร์ฟในร้านอาหารชื่อดัง "ภูมิใจ" จึงมิได้เป็น เพียงผู้ซื้อผลผลิตเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนสำคัญของการทำงานปลายน้ำที่บริษัทภูมิใจ ต้องการที่จะบูรณาการ นวตกรรมทางธุรกิจ ที่ทำให้เกิดการพัฒนาการทำงานกับกลุ่ม เกษตรกรต้นแบบ ที่เบตงได้อย่างเป็นรูปธรรม 2)ปลอดสารเคมีตลอดสายการผลิต ทำให้มั่นใจในคุรภาพของปลาที่แช่แข็งเพื่อการจัดจำหน่าย รวมไปถึงต้นน้ำในการเพาะเลี้ยงที่ปลอดยาปฎิชีวนะและฮอร์โมนในการเร่งการเจริญเติบโต

สู่การเปลี่ยนแปลง (Social Impact)

การเล็งเห็นความสำคัญในเรื่อง Zero Waste หรือขยะเป็นศูนย์ ทำให้การทำงานเบื้องหลัง ประสานสอดคล้องได้เป็น อย่างดี ด้วยรูปแบบการจัดซื้อและการบริหารวัตถุดิบให้ขยะเป็นศูนย์ เกิดขึ้นได้จริง "เราสามารถทำให้เกษตรกรเข้าถึงการสื่อสารและการทำงานผ่าน ระบบ online conference เพื่อเชื่อมโยงการทำงานระหว่าง หน่วยงานกลางที่ กรุงเทพฯ กับชุมชน ภาพฝันที่เห็นเกษตรกรอยู่ท่ามกลางหุบเขา เชื่อมโยงกับทีมงาน ที่อยู่ในตัวเมือง เกิดขึ้นจริงไม่ใช่แค่จินตนาการนำระบบดิจิทัล เข้ามาบริหารจัดการข้อมูล (Data Log) สร้างศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยน ข้อมูลที่เกี่ยวกับการบริหารฟาร์ม การบริหารต้นทุนการผลิต การแจ้งยอด ค่าใช้จ่ายและรายได้ เพื่อสร้างความคุ้นเคยในการทำงานด้วยระบบดิจิตอล สร้างวินัย และความโปร่งใสในการทำงานร่วมกันได้ความไว้วางใจจากกลุ่มเกษตรกรเบตง ระยะทาง และสถานะการณ์ ของท้องถิ่น"

ข้อมูลติดต่อ (Contact)

เบอร์โทร: 0928951993
Email: bhumjaicorporation@gmail.com
Website: http://www.bhumjai.com
Facebook:

พร้อมรับการแบ่งปัน (Want to grow)

เงินทุน
ซื้อสินค้าและบริการ ระบุประเภทสินค้า/บริการ
สถานที่หรือช่องทางการจัดจำหน่าย
สถานที่จัดกิจกรรม
ที่ปรึกษา/ผู้เชียวชาญ/วิทยากร/ ในเรื่อง
อื่นๆ
ผู้เข้าชม  2193