สืบสานวรรณกรรมไทย

วรรณกรรมไทย
ในรอบปีที่ผ่านมา ธนาคารได้ริเริ่มโครงการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ “กวีปากกาทอง” ขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อส่งเสริมและจูงใจให้ เยาวชนไทยในระดับมหาวิทยาลัยทั้ง 5 ภูมิภาค ได้เรียนรู้ พัฒนาทักษะและสืบสานการประพันธ์บทร้อยกรอง ในหัวข้อ “วิสัยทัศน์ ภิวัฒน์ไทย” ผู้ชนะเลิศในแต่ละภูมิภาคจะ ได้รับปากกา โดยมีคุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ และที่ปรึกษาศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ เป็นผู้มอบ กิจกรรมนี้มีเยาวชนเข้าร่วมทั้งสิ้นกว่า 1,000 คน ธนาคารได้เล็งเห็นถึงการสร้างระบบและเครือข่ายที่เชื่อมโยงกัน เพื่อขยายผลในการดำรงความยั่งยืนของการพัฒนาวรรณกรรม ไทยไปสู่ระดับสากล จากกิจกรรม“พบนักเขียนซีไรต์” ซึ่ง ธนาคารได้เป็นผ้สู นับสนุนหลักอย่างต่อเนื่องมากว่า 30 ปี โดย เชิญนักเขียนผู้สร้างสรรค์วรรณกรรมยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน ประจำปี ทั้ง 10 ประเทศ มาเปิดเผยถึงแนวคิดและความสำเร็จ ที่เกิดขึ้นให้แก่นักเขียนไทย ซึ่งในปีที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมกว่า 150 คน ที่สนใจเข้าฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และจาก กิจกรรม “รางวัลชมนาด” ซึ่งธนาคารเป็นผู้สนับสนุนหลัก มอบรางวัล ให้กับนักเขียนสตรีไทยที่มีผลงานงานเขียนประเภทอ้างอิงเรื่อง จริง (non-fiction) ดีเด่น และสนับสนุนการแปลเป็นภาษา อังกฤษเพื่อให้นักเขียนไทยได้มีโอกาสนำผลงานเสนอสู่ ตลาดโลก

ธนาคารได้ขยายการสนับสนุนด้านวรรณกรรม ไปสู่เครือข่าย ของการสร้างนักเขียนรุ่นใหม่ที่จะสานต่อสังคมวรรณกรรมของ ไทย ด้วยการจัดกิจกรรม “อ่าน เขียน เรียน รู้” สำหรับนักเรียน ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม. 4 – ม.6) โดยให้เลือกอ่าน หนังสือที่ได้รับรางวัลซีไรต์ หรือ รางวัลชมนาด เล่มใดเล่มหนึ่ง และเรียบเรียงสรุปเนื้อหา มีนักเรียนส่งผลงานเข้าร่วมกิจกรรม ในปี 2558 กว่า 700 คน เจ้าของผลงานที่ผ่านการพิจารณา จำนวน 30 คน จะได้ร่วมกิจกรรมค่ายพัฒนานักเขียน และรับ การอบรมแบบเข้มข้นเพื่อพัฒนาผลงานให้มีคุณภาพดีขึ้นกับ วิทยากรชั้นนำของประเทศ โดยผลงานที่ได้รับการพิจารณาจะ ได้รับทุนการศึกษาทั้ง 30 ราย แบ่งเป็นรางวัลที่ 1, 2 และ 3 รางวัลละ 10 ทุน

ผู้เข้าชม  951