สมาชิกของแพรตฟอร์มที่เป็นองค์กรในภาคธุรกิจ ที่ให้ความสำคัญกับประเด็นในการสร้างความยั่งยืนในหลากหลายมิติ ทั้งนี้ ในปัจจุบันองค์กรธุรกิจแต่ละแห่งดำเนินการด้านความยั่งยืนในหลายระดับ อย่างไรก็ดี โดยการกล่าวอ้างเอกสารบรรยายของ สฤณี อาชวานันทกุล บ.ป่าสาละ จำกัด
ได้นิยามถึง “การเป็นพลเมืองของธุรกิจ” กล่าวคือการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมของผู้ประกอบการ โดยอ้างอิงรายงาน “Corporate Citizenship: Profiting from sustainable business” 2008 โดย Economist Intelligence Unitว่า “การก้าวข้ามการกุศล (philanthropy) และการปฏิบัติตามกฎหมาย (compliance) ไปสู่การจัดการกับผลกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมของธุรกิจรวมถึงการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ “พลเมืองภาคธุรกิจ”
ไม่เพียงแต่มีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นเท่านั้น หากแต่ยังมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ อาทิ พนักงาน ผู้บริโภคคู่ค้า ชุมชนท้องถิ่น และสังคมส่วนรวม”

          ในปัจจุบัน องค์กรภาคธุรกิจในประเทศไทยมีมิติในเรื่องความยั่งยืนในหลายระดับ กล่าวคือ จากเพียงการมีส่วนช่วยเหลือสังคม การบริจาค
การจัดกิจกรรมเชิงสังคม การตั้งองค์กรสาธารณกุศล ไปจนถึงระดับที่เป็น “พลเมืองภาคธุรกิจ” ทั้งนี้ ความเข้าใจในเรื่องความยั่งยืน หรือวิถีการพัฒนาธุรกิจในรูปแบบดังกล่าวยังมิได้แพร่หลายยังมิได้เป็นแนวคิดหลัก “norm” ของการดำเนินธุรกิจ ถึงกระนั้นก็ตาม ด้วยพลวัตร (dynamism) ของโลก ที่ทุกวันนี้โลกอยู่ภายใต้สภาวะที่เรียกว่า VUCA (Volatility,Uncertainty,Complexity,Ambiguity) ความไม่แน่นอน ความเสี่ยงทำให้ทั้งการดำเนินชีวิตของพลเมืองโลกและการประกอบกิจการต่าง ๆ จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเข้มข้น ซึ่งหากจะพิจารณาให้ลึกซึ้งแล้ว การบริหารจัดการธุรกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืนหรือการเป็นพลเมืองภาคธุรกิจย่อมเป็นแนวคิด หรือกรอบหลักการที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการกับความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเติบโตไปได้อย่างยั่งยืน

 

          ในปัจจุบัน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้สนับสนุนบริษัทจดทะเบียน ในด้านความรู้ คำแนะนำ ในการพัฒนาธุรกิจบนกรอบแนวคิดด้านความยั่งยืน
สร้างมาตรวัดบนบริบทของประเทศไทย เช่น SETTHSI ทั้งในรูปของกลุ่มหลักทรัพย์ และดัชนี รวมทั้ง ส่งเสริมให้บริษัทที่มีความพร้อมเข้าสู่มาตรฐานการวัดคุณภาพในเรื่องดังกล่าวทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก

          Impact BIZ เป็นอีกพื้นที่การนำเสนอแนวทางการทำงานอย่างยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน และบริษัทจำกัดอื่น ๆ  และนำเสนอความพร้อมในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การหาจุดร่วมในการประสานความร่วมมือ ทั้งในด้านเงินทุน ช่องทางการตลาด การพัฒนาโมเดลธุรกิจระหว่างกัน หรือต่อยอดขยายผลในด้านการศึกษาวิจัย
          ทั้งนี้ ธุรกิจเพื่อสังคมที่สนใจรับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจ สามารถแจ้งความประสงค์เข้ามาได้ที่  ของเว็บไซต์ SET Social Impact จะร่วมเป็นสื่อกลางในการสร้าง business Co-creation เพื่อสานความร่วมมือให้เกิดผลลัพท์ทางสังคมที่ยั่งยืน

 

ผู้เข้าชม  2321