หมู่ 5 ต.ห้วยลึก อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี
“เพิ่มป่าสร้างแหล่งท่องเที่ยวและรายได้”
พันธุ์ไม้ที่ต้องการปลูก :
- ไม้ยืนต้น และไม้ผล เช่น พะยูง สัก ตะเคียน หว้า มะค่าโมง ประดู่ ขี้เหล็ก ยมหอม ยางนา เหรียงป่า มะขามป้อม พิกุล สมอภิเภก โมก
** หมายเหตุ : การสนับสนุนพื้นที่ปลูก จำนวน 20 ไร่ แต่รูปแบบการปลูกต้นไม้ทดแทน เสริมในบริเวณพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม จึงครอบคลุมพื้นที่ปลูก 32 ไร่
_______________________________________________________________
เนื้อที่ป่าชุมชน : 2,248 ไร่
ได้รับอนุมัติจากกรมป่าไม้ : ต่ออายุปี พ.ศ. 2559
ประเภทป่า : ป่าสงวนแห่งชาติ ป่ายางหัก-เขาปุ้ม
ระยะทางจากกรุงเทพ : 170 กิโลเมตร
ระยะเวลาเดินทางจากกรุงเทพ : 2 ชั่วโมง 40 นาที
---------------------------------------------------------------------------------------------
| เริ่มปลูกแปลงที่ 1 : มิถุนายน 2564
| เริ่มปลูกแปลงที่ 2 : ตุลาคม 2565
| พื้นที่ปลูก : แปลงปลูกที่ 1 : 16 ไร่ (รูปแบบการปลูกเสริมในพื้นที่เดิมที่เป็นป่าเสื่อมโทรม)
| พื้นที่ปลูก : แปลงปลูกที่ 2 : 16 ไร่
| ความสูงต้นไม้ :
แปลงที่ 1 : เนื่องด้วยในเดือนกันยายนปี 2566 เกิดไฟไหม้ป่าลามเข้าแปลงปลูกส่งผลให้ต้นไม้เสียหายเกือบ 70 %
ในฤดูฝนปี 2567 มีการปลูกซ่อมทดแทน ความสูงเฉลี่ยของต้นไม้จึงอยู่ที่ประมาณ 77 เซนติเมตร ในขณะที่ต้นไม้ที่
รอดตายบางส่วนมีความสูงถึง 2.5 เมตร ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2567
แปลงที่ 2 : 1-1.3 เมตร ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2567
| อัตราการรอดตายของต้นไม้
แปลงที่ 1 : 100% ข้อมูล ณ กันยายน 2567 (รวมต้นที่ปลูกซ่อม)
แปลงที่ 2 : 100% ข้อมูล ณ กันยายน 2567 (รวมต้นที่ปลูกซ่อม)
---------------------------------------------------------------------------------------------
Update : การสนับสนุน การปลูก การดูแลและติดตามผลการเติบโต
---------------------------------------------------------------------------------------------
การสนับสนุนจากองค์กรภาคธุรกิจ
ป่าชุมชนบ้านพุตูม อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี เป็นพื้นที่แห่งที่ 2 ที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) พันธมิตรสนับสนุนงบประมาณ
แก่โครงการ Care the Wild และกรมป่าไม้ ซึ่งได้ร่วมมือกับชุมชนเข้มแข็ง ปลูกป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและแหล่งอาหารที่ยั่งยืน
การสำรวจพื้นที่ร่วมกัน
เมื่อเดือนเมษายน 2564 ทีมผู้บริหารโครงการ Care the Wild กรมป่าไม้ บมจ. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา พร้อมด้วยผู้นำชุมชน ร่วมประชุมหารือวางแผนการปลูกต้นไม้ในบริเวณป่าชุมชน ซึ่งโดยรวมมีความสมบูรณ์และมีจุดเด่นคือ เป็นพื้นที่ที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคตด้วยภูมิทัศน์สวยงาม ใกล้แหล่งน้ำ และมีแหล่งท่องเที่ยวเป็นจุดชมวิว (ดอยผาแด่น) ในบริเวณใกล้เคียง และเป็นจุดให้นักท่องเที่ยวใช้เล่นพารามอเตอร์
ประชุมวางแผนปลูกป่า จำนวน 16 ไร่ บนพื้นที่ 3 แปลง
พื้นที่ป่าใกล้บริเวณอ่างเก็บน้ำผาน้ำหยด โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีต้นไม้ขนาดใหญ่ค่อนข้างหนาแน่น มีพื้นที่เสื่อมโทรมที่ต้องมีการปลูกเสริม เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ให้ป่าชุมชน
ขั้นตอนการเตรียมพันธุ์กล้าไม้
อนุบาลกล้าไม้ ใช้กล้าข้ามปี เพื่อความแข็งแรง ความสูงกล้าไม้ประมาณ 30 - 60 เซนติเมตร
กระบวนการปลูก และการบริหารจัดการน้ำ
ทีมงานกรมป่าไม้ โดยศูนย์ส่งเสริมวนศาสตร์ชุมชนที่ 7 (จ.ราชบุรี) ร่วมกับชุมชน เตรียมการปลูก วางระบบน้ำ และดำเนินการปลูกได้สำเร็จลุล่วงเป็นไปตามแผนที่กำหนด แล้วเสร็จเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา
ขุดหลุมปลูกในพื้นที่ที่จะวางแนวหลักสเต็กไม้ไผ่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปลูกต้นไม้ในที่ว่าง โดยหลีกเลี่ยงการปลูกใต้ร่มไม้ใหญ่ที่มีอยู่เดิมและถูกต้องตามหลักวิชาการ
เตรียมดินดำพร้อมทั้งโพลิเมอร์สำหรับใส่เพิ่มเติมในบริเวณโคนต้นไม้
เตรียมกล้าไม้พร้อมเปลี่ยนถุงจาก 2*6 นิ้วเป็น 4*8 นิ้ว
ติดตั้งปั๊มน้ำ วางแนวสายท่อและท่อน้ำหยดเพื่อให้น้ำจากฝายผาน้ำหยดไปยังบริเวณโคนต้นไม้ทุกต้น ลดปัญหาแล้งและวางแผนกำหนดการปล่อยน้ำทุกวัน
ช่วยให้มีน้ำรดต้นไม้ตลอดปี จนกว่ากล้าไม้จะแข็งแรงและเติบโตได้ต่อไป และลดอัตราการตายของกล้าไม้ในช่วงฤดูแล้ง
ชาวชุมชนบ้านพุตูมร่วมดูแลการรดน้ำต้นไม้ ลดปัญหาฝนขาดช่วง
ติดตั้งรั้วลวดหนามไฟฟ้าแบบไม่รุนแรง เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเช่น วัว ไม่ให้เข้ามาทำลายต้นไม้ที่ปลูกใหม่
หลังการปลูกต้นไม้แล้ว ชาวชุมชนบ้านพุตูมบำรุงดูแลรักษาต้นไม้ด้วยการให้ปุ๋ยทางใบ เพื่อให้ต้นไม้มีอัตราการรอดตายสูงสุด
และดูแลต่อเนื่องเป็นเวลา 6 ปี และมีการปลูกซ่อมเสริมกรณีต้นไม้ตาย โดยมีเป้าหมายต้นไม้ที่ปลูกมีอัตราการรอด 100 %
---------------------------------------------------------------------------------------------
ผลสำเร็จการปลูกป่าแปลงที่ 1 ครอบคลุมพื้นที่ 16 ไร่ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564
ชุมชนบ้านพุตูม บำรุงดูแลรักษาต้นไม้ เพื่อให้ต้นไม้มีอัตราการรอดตายสูงสุด และดูแลต่อเนื่องเป็นเวลา 6 ปี และมีการปลูกซ่อมเสริมกรณีต้นไม้ตาย
โดยมีเป้าหมายต้นไม้ที่ปลูกมีอัตราการรอด 100%
ผลลัพธ์ต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม
จากการสนับสนุนของภาคธุรกิจ ในการระดมทุนเพื่อปลูกต้นไม้ในป่าชุมชนบ้านพุตูม ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุม 2,248 ไร่ สร้างผลสำเร็จการปลูกป่าจำนวน 16 ไร่ ด้วยต้นไม้กว่า 2,230 ต้น ช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 20,070 กิโลกรัมคาร์บอนไดซ์ออกไซต์เทียบเท่า สร้างประโยชน์ให้กับชุมชนบ้านพุตูม หมู่ 5 ซึ่งมีสมาชิก 200 ครัวเรือน และหมู่ 1, 3, 6 รวมประมาณ 600 ครัวเรือน ครอบคลุมประโยชน์จากป่าโดยเก็บของป่า หารายได้จากป่า เช่น เก็บพืช เก็บเห็ด หน่อไม้ และสมุนไพรเป็นหลัก
การติดตามผลการปลูกแปลงที่ 1 ครั้งที่ 1 # 21 ตุลาคม 2564
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ทีมงานโครงการ Care the Wild และผู้สนับสนุนการปลูก ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยพนักงานจิตอาสา ได้ลงพื้นที่เพื่อทำกิจกรรมการดูแลต้นไม้ที่ปลูกร่วมกับสมาชิกในชุมชนบ้านพุตูม และกรมป่าไม้ เนื่องในวันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ (ทุกวันที่ 21 ตุลาคมของทุกปี) โดยการติดตามผลการปลูกต้นไม้ครั้งที่ 1 ณ ป่าชุมชนบ้านพุตูม ได้ติดตั้งป้ายโครงการฯ หน้าทางเข้าบริเวณอ่างเก็บน้ำผาน้ำหยด และต้นไม้มีผลลัพธ์การเติบโตที่น่าพึงพอใจ ต้นไม้มีอัตราส่วนการรอดตายถึง 95% และมีความสูงเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่า 80 เซนติเมตร ความสำเร็จในครั้งนี้ถือเป็นการร่วมมือ ร่วมใจการดูแลต้นไม้ให้เติบโตเป็นป่าอย่างยั่งยืนด้วยสมาชิกชุมชนบ้านพุตูม และเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้
ในโอกาสวันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ ปี 2564 (ตรงกับทุกวันที่ 21 ตุลาคมของทุกปี ) โครงการ Care the Wild กรมป่าไม้
และผู้สนับสนุนการปลูก ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้ลงพื้นที่แปลงปลูกที่ 1 เพื่อทำกิจกรรมใส่ปุ๋ยต้นไม้รวมทั้งมอบปุ๋ยแก่ชุมชนเพื่อใช้ดูแลต้นไม้ที่ปลูกไว้
การติดตามผลการปลูกแปลงที่ 1 ครั้งที่ 1 # ตุลาคม 2564
ชุมชน และกรมป่าไม้ลงพื้นที่ติดตามผลปลูกของป่าชุมชนบ้านพุตูม เพื่อติดตามผลการเติบโตของต้นไม้ พบว่า ต้นไม้ในแปลงปลูกมีอัตราการเติบโต
ค่อนข้างดี สัดส่วนต้นไม้ที่รอดตาย 100 % ( มีการปลูกทดแทนต้นไม้ที่ตายในช่วงต้นฤดูฝน ) โดยรวมเฉลี่ยความสูงต้นไม้ประมาณ 80 เซนติเมตร
ประเภทต้นไม้ที่เติบโตดี ได้แก่ หว้า สัก พะยูง มะค่าโมง มะขามป้อม
แหล่งน้ำที่ใช้รดน้ำต้นไม้จากอ่างเก็บน้ำผาหยด ติดตั้งปั๊มน้ำเพื่อสูบน้ำเข้าสู่ระบบน้ำหยดรดโคนต้นไม้ ในขณะที่ชุมชนใส่ใจเข้ามาดูแลบำรุงต้นไม้
อย่างต่อเนื่อง ใส่ปุ๋ย พรวนดิน มีการกำจัดวัชพืช และติดตั้งรั้วลวดถาวร สร้างความเข้าใจว่าเป็นรั้วลวดไฟฟ้าเพื่อป้องกันการบุกรุกจากสัตว์เลี้ยง
รวมถึงมีการจัดทำแนวกันไฟในช่วงฤดูแล้ง
ต้นไม้มีอัตราการรอดตายถึง 95% และมีความสูงเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่า 80 เซนติเมตร
การติดตามผลการปลูกแปลงที่ 1 ครั้งที่ 2 # 30 กันยายน 2565
ชุมชน และกรมป่าไม้ลงพื้นที่ติดตามผลปลูกของป่าชุมชนบ้านพุตูม เพื่อติดตามผลการเติบโตของต้นไม้ พบว่า ต้นไม้ในแปลงปลูกมีอัตราการเติบโต
ค่อนข้างดี สัดส่วนต้นไม้ที่รอดตาย 100 % มีการปลูกซ่อมเสริมในช่วงต้นฤดูฝนที่ผ่านมา โดยใช้ต้นไม้ปลูกทดแทน เช่น มะขามป้อม ตะเคียน
ประดูป่า และมะค่าโมง ต้นไม้โดยรวมเฉลี่ยความสูงต้นไม้ประมาณ 1.8 – 2 เมตร วงรอบต้น 5-9 เซนติเมตร ประเภทต้นไม้ที่เติบโตดี ได้แก่ สัก พะยูง
มะค่าโมง มะขามป้อม หว้า ยมหิน เหรียงป่า
แหล่งน้ำที่ใช้รดน้ำต้นไม้จากอ่างเก็บน้ำผาหยด ติดตั้งปั๊มน้ำเพื่อสูบน้ำเข้าสู่ระบบน้ำหยดรดโคนต้นไม้ ในขณะที่ชุมชนใส่ใจเข้ามาดูแลบำรุงต้นไม้
อย่างต่อเนื่อง ใส่ปุ๋ย พรวนดิน มีการกำจัดวัชพืช และติดตั้งลวดหนามถาวรเพื่อป้องกันการบุกรุกจากสัตว์ รวมถึงมีการจัดทำแนวกันไฟในช่วงฤดูแล้ง
การติดตามผลการปลูกแปลงที่ 1 ครั้งที่ 3 # กันยายน 2566
เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2566 กรมป่าไม้ลงพื้นที่ติดตามผลปลูกของป่าชุมชนบ้านพุตูม เพื่อติดตามผลการเติบโตของต้นไม้ พบว่า ต้นไม้ในมีอัตรา
การเติบโตค่อนข้างดี สัดส่วนต้นไม้ที่รอดตาย 100 % มีการปลูกซ่อมเสริมครบถ้วน เฉลี่ยความสูงของต้นไม้ 3- 3.5 เมตร วงรอบ 7-15 เซนติเมตร
ที่ผ่านมาชุมชนลงพื้นที่แปลงปลูกเพื่อกำจัดวัชพืชใส่ปุ๋ยต่อเนื่อง ประเภทต้นไม้ที่เติบโตดี ได้แก่ สัก พะยูง มะค่าโมง มะขามป้อม หว้า ยมหิน
ต่อมาในช่วงปลายเดือนกันยายน พบว่ามีการเกิดไฟไหม้ป่าและลามเข้าพื้นที่ปลูกต้นไม้ ส่งผลให้ระบบน้ำชำรุดประกอบกับในช่วง 4 เดือนก่อนหน้า
กรมชลประทานมีการปรับปรุงพื้นที่อ่างเก็บน้ำผาน้ำหยด โดยทำสันเขื่อนใหม่ขยายพื้นที่เข้ามาบริเวณป่าที่ปลูก และได้สูบน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำทั้งหมด
เพื่อการก่อสร้าง ส่งผลให้พื้นดินของผืนป่าแห้งจากเดิมที่เคยมีน้ำใต้ดินหล่อเลี้ยง และขาดความชุ่มชื้นส่งผลให้แปลงปลูกได้รับผลกระทบรุนแรงต้นไม้ที่
ปลูก 70 % ได้รับความเสียหาย ส่งผลให้อัตรารอดตายมีเพียง 30 %
จากปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ กรมป่าไม้และชุมชนได้วางแผนทำงานเพื่อแก้ไขโดยปรับพื้นที่แปลงปลูกขยับจากพื้นที่ก่สร้างสันเขื่อนและปลูกซ่อมแซมต่อไป
ในช่วงฤดูฝนปีถัดไป
การติดตามผลการปลูกแปลงที่ 1 ครั้งที่ 4 # 30 กันยายน 2567
การติดตามผลปลูกในปี 2567 นี้ โครงการฯ ได้มอบหมายให้ทีมงานคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำทีมโดย ดร.นรินธร จำวงษ์
รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยป่าไม้ ลงพื้นที่พร้อมกับชุมชนและกรมป่าไม้ สำรวจแปลงปลูก เพื่อรายงานผลลัพธ์การติดตามผลปลูกที่ใช้เทคโนโลยี
การบินโดรนบนพื้นที่จริง พบว่า จากเมื่อเดือนกันยายน ปี2566 ที่ผ่านมานั้น กรมชลประทานมีการปรับปรุงสันเขื่อนจึงสูบน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำผาน้ำหยด
และเกิดไฟป่าในพื้นที่ปลูกทำลายต้นไม้กว่า 70 % รวมทั้งระบบน้ำชำรุดเสียหายนั้น สมาชิกชุมชนร่วมกับกรมป่าไม้ปลูกต้นไม้ทดแทนต้นไม้ที่เสียหาย
ในช่วงฤดูฝนที่ผ่านมาโดยมีการปรับขยับเขตพื้นที่ปลูกเริ่มต้นห่างจากบริเวณอ่างเก็บน้ำฯ ประมาณ 300 เมตร โดยใช้ต้นไม้มะขามป้อม สัก ตะเคียน
ประดู่ มะค่าโมง ปลูกทดแทน (จำนวนต้นไม้ที่ปลูกเพิ่ม 2,000 ต้น) และยังคงมีต้นไม้เดิมที่รอดตายอีกประมาณ 30% สัดส่วนต้นไม้มีอัตรารอดตาย 100%
ประเภทต้นไม้ที่เติบโตได้ดี : พะยูง ประดู่ป่า มะขามป้อม หว้า มะค่าโมง สมอพิเภก เฉลี่ยความสูงของต้นไม้ที่ปลูกทดแทนเฉลี่ย 60 เซนติเมตรและต้นที่เดิมที่รอดตายเฉลี่ยความสูง 2 เมตร วงรอบเฉลี่ย 5 เซนติเมตร
แหล่งน้ำ จากอ่างเก็บน้ำผาน้ำหยดเมื่อทำสันเขื่อนเสร็จแล้วจึงสามารถกักเก็บน้ำได้เหมือนเดิม มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความชื้นรอบป่ามีมากขึ้น ทั้งนี้ประธานคณะกรรมการป่าชุมชนและสมาชิกชุมชนได้วางแผนร่วมกับกรมป่าไม้ มีแผนและเป้าหมายการปรับปรุงระบบน้ำที่เสียหายจากไฟไหม้ โดยจะเริ่มดำเนินการปรับปรุงระบบน้ำรองรับแปลงปลูกใหม่ในช่วงปลายฤดูฝน (ประมาณเดือนธันวาคม 2567)
สำหรับภาพรวมของการดูแลแปลงปลูกโดยสมาชิกชุมชน เพื่อเป้าหมายให้ต้นไม้เติบโตและมีอัตรารอด 100 % มีการดำเนินการในรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
การบำรุงรักษาต้นไม้
การบำรุงในขั้นตอนปลูก รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักชนิดผง โดยได้รับการสนับสนุนจากเอกชน ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะพูนต่อต้น หรือประมาณ 20 กรัมต่อต้น ใส่สารดูดความชื้น (polymer) จำนวน 1 แก้วน้ำ (16 oz) ปริมาณ 480 มิลลิลิตรต่อต้น หลักปลูกทำการปักหมายแนวและใช้การผูกเชือกกับกล้าไม้เพื่อป้องกันต้นไม้เอียง การบำรุงหลังปลูก ไม่มีการใส่ปุ๋ยหลังจากปลูกแล้วเสร็จ เน้นไปที่การปลูกซ่อมกล้าไม้จากการที่พื้นที่ถูกไฟไหม้ส่งผลให้ระบบน้ำหยดเสียหายและกล้าไม้ตายจำนวนมาก
การกำจัดวัชพืช
พบว่าพื้นที่โครงการเป็นการปลูกเสริมในพื้นที่ป่าเดิม พบว่าวัชพืชโตขึ้นน้อยในพื้นที่ที่มีการปกคลุมของต้นไม้ ทำให้ไม่ส่งผลกระทบต่อกล้าไม้ที่มีการปลูกเสริม วิธีการ กำจัดวัชพืชโดยใช้เครื่องตัดหญ้า และใช้เคียวตัดหญ้ากรณีปลูกในพื้นที่โล่ง วัชพืชมีการขึ้นหนาแน่น ทำการกำจัดวัชพืชทั่วทั้งพื้นที่ปลูก กรณีปลูกแซมร่วมกับต้นไม้จะกำจัดวัชพืชรอบกล้าไม้ ช่วงเวลา กำจัดวัชพืชปีละ 1 ครั้ง โดยเน้นไปที่ช่วงปลายฝน (เดือนธันวาคม) เพื่อกำจัดวัชพืชไม่ให้เป็นเชื้อเพลิงของไฟที่อาจส่งผลกระทบต่อกล้าไม้ในช่วงฤดูแล้ง
การจัดหาแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำของพื้นที่โครงการคืออ่างเก็บน้ำผาน้ำหยดที่ดำเนินการสร้างโดยกรมชลประทาน พื้นที่โครงการดำเนินการปลูกในช่วงเดือนต้นฤดูฝนปี
พ.ศ 2564 ต่อมากรมชลประทานปรับปรุงอ่างเก็บน้ำ มีการระบายน้ำออกทั้งหมด ส่งผลให้ความชื้นของพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำหายไปและไม่สามารถ
สูบน้ำรดกล้าไม้ได้ในฤดูแล้งได้ ส่งผลให้กล้าไม้ขาดแคลนน้ำ ประสบกับช่วงฤดูแล้งปี พ.ศ. 2566 เกิดปัญหาไฟป่าส่งผลกระทบต่อระบบน้ำเสียหาย
ทั่วทั้งพื้นที่โครงการ และกล้าไม้ตายจำนวนมาก
หลังจากกรมชลประทานปรับปรุงอ่างเก็บน้ำเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2566 สภาพอากาศมีฝนตกน้อย ส่งผลให้อ่างเก็บน้ำมีปริมาณน้ำที่น้อย ทำให้ยังไม่สามารถดำเนินระบบน้ำใหม่ และพื้นที่โครงการถูกกรมชลประทานขยายพื้นที่ออกมาส่งผลกระทบต่อพื้นที่ป่าชุมชนด้านข้างและพื้นที่โครงการ ทำให้มีการดำเนินการจัดหาพื้นที่ปลูกเสริมของโครงการใหม่
จากการลงพื้นที่ติดตามผลพบปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำมีปริมาณเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความชื้นรอบพื้นที่ป่ามากขึ้น และทางโครงการมีแผนที่จะดำเนินการปรับปรุงระบบน้ำที่เสียหายจากการถูกไฟไหม้ โดยจะเริ่มทำระบบน้ำในช่วงปลายฤดูฝน (ประมาณเดือนธันวาคม พ.ศ. 2567) เป็นระบบฝังท่อหลักไว้ใต้ดินเพื่อป้องกันผลกระทบจากไฟ
การจัดทำแนวกันไฟ
รูปแบบ ใช้ถนนลาดตะเวนและพื้นที่ร่องน้ำ เป็นแนวกันไฟ กว้าง 4-6 เมตร ในกรณีพื้นที่โครงการที่ติดกับป่าใช้การกำจัดวัชพืชเป็นแถวยาวรอบพื้นที่โครงการกั้นระหว่างพื้นที่ป่ากับพื้นที่ปลูก ช่วงเวลาที่ทำแนวกันไฟปลายฤดูฝน (ธันวาคม)
การป้องกันสัตว์บุกรุก
พบมีการนำสัตว์มาเลี้ยงในป่าชุมชน ใกล้กับพื้นที่โครงการ จากการสัมภาษณ์พบเป็นชาวบ้านจากพื้นที่อื่น ซึ่งหากพบก็จะมีการบอกกล่าวว่าอย่าให้ล้ำเข้ามาในพื้นที่โครงการ โดยในหมู่บ้านมีการประชาสัมพันธ์ถึงการดำเนินโครงการและมีกฎของป่าชุมชนชัดเจนในการบังคับใช้ต่อผู้ที่ลักลอบนำสัตว์มาเลี้ยงในพื้นที่โครงการ นอกจากนี้ยังมีการทำรั้วล้อมรอบแนวพื้นที่โครงการป้องกันสัตว์เป็นรั้วลวด โดยในอนาคตจะมีปล่อยไฟแบตเตอรี่ไฟต่ำโดยไม่สร้างความอันตรายต่อสัตว์ที่เข้ามาในพื้นที่
การป้องกันการบุกรุกพื้นที่ปลูก
โครงการได้ประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการผ่านที่ประชุมหมู่บ้านแก่ชาวบ้านและมีการปักป้ายโครงการหมายหมุดขอบเขตแปลงปลูกอย่างชัดเจน
แม้พื้นที่โครงการจะตั้งอยู่ในพื้นที่เขตใช้สอยของป่าชุมชน แต่มีการควบคุมการใช้ประโยชน์ของพื้นที่โครงการด้วยกฎหมายป่าชุมชน
การปลูกต้นไม้ทดแทนต้นไม้ที่ตาย
ชุมชนจะเป็นผู้ปลูกซ่อมต้นไม้ที่ตาย โดยดำเนินการเมื่อเริ่มมีฝนตกในพื้นที่ ซึ่งในปี พ.ศ. 2567 มีการปลูกซ่อมแล้ว 1 ครั้ง ในช่วงเดือนมิถุนายน กล้าไม้กรมป่าไม้เป็นผู้จัดหาจากศูนย์เพาะชำกล้าไม้ภายในจังหวัดและการซื้อจากเอกชน โดยมีการเพาะชำกล้าไม้ให้มีอายุ 6-8 เดือน จึงจะทำการนำมาลงปลูกในพื้นที่โครงการ
---------------------------------------------------------------------------------------------
ธนาคารกรุงศรีอยุธยาจัดกิจกรรมวันรักต้นไม้สร้างฝายในพื้นที่แปลงปลูกที่ 2
ในช่วงเดือน กรกฎาคม - สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ธนาคารกรุงศรีอยุธยาได้สนับสนุนพื้นที่ปลูกเพิ่ม ในป่าชุมชนบ้านพุตูมอีก 10 ไร่ โดยชุมชน
และกรมป่าไม้ ได้ร่วมมือกันดำเนินการจนแล้วเสร็จ โดยปลูกต้นไม้รวมกว่า 2,100 ต้น เป็นการปลูกเสริมในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม มีพื้นที่ครอบคลุม
รวม 16 ไร่ โดยประเภทต้นไม้ที่ปลูก ได้แก่ พะยอม พิกุล มะค่าโมง ยมหิน แคแสด โมก หว้า พะยูง และโดยเฉพาะทองอุไร ที่ตั้งใจปลูกเป็น
แนวเส้นทางสู่แหล่งท่องเที่ยวน้ำตกผาน้ำหยด เขาแด่น ซึ่งอยู่ด้านบน เพื่อส่งเสริมทัศนียภาพ
ในโอกาสวันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ ปี 2565 ที่ผ่านมา (ทุกวันที่ 21 ตุลาคมของทุกปี) ทีมผู้บริหารพันธมิตร โครงการ Care the Wild
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ( BAY ) ตลาดหลักทรัพย์ฯ ( SET ) และกรมป่าไม้ ได้แก่ คุณนงรัก งามวิทย์โรจน์ ผอ.ฝ่ายพัฒนาเพื่อสังคม
ตลาดหลักทรัพย์ฯ คุณนันทนา บุณยานันต์ ผอ.สำนักจัดการป่าชุมชน พร้อมด้วยทีมพนักงานจิตอาสาของ BAY และพี่น้องชาวชุมชน
บ้านพุตูม กว่า 80 คน ร่วมจัดกิจกรรมใส่ปุ๋ยต้นไม้ และทำฝายกักน้ำเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผืนป่า 2 ตัวในพื้นที่ปลูกที่สนับสนุนโดย BAY
รวม 20 ไร่ ณ ป่าชุมชนบ้านพุตูม อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี ซึ่งมีคุณวรุธ ดอนหงาย เป็นประธานคณะกรรมการป่าชุมชนฯ
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ยึดมั่นในพันธกิจลดการปล่อยคาร์บอนจากกระบวนการดำเนินธุรกิจของธนาคารให้เหลือศูนย์ ในปี 2573 (Net Zero) และลดการปล่อยคาร์บอนจากการให้บริการทางการเงินให้เหลือศูนย์ภายในปี 2593 จึงสานต่อโครงการ CARE THE WILD “ปลูกป้อง” PLANT & PROTECT” รวมกว่า 6,000 ต้น ซึ่งจะช่วยดูดซับปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 54,000 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า
ช่วงฤดูปลูกของปี 2565 นี้ ( ระหว่างเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม) ได้เพิ่มผืนป่าในป่าชุมชนใน 9 จังหวัด ทั่วประเทศไปแล้ว 10 แปลง รวมเนื้อที่ปลูก 312.5 ไร่ จำนวนต้นไม้ 62,500 ต้น ซึ่งจะช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 562,500 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า
การติดตามผลการปลูกแปลงที่ 2 ครั้งที่ 1 # กันยายน 2565
จากกิจกรรมสร้างฝายและปลูกต้นไม้เสริมในแปลงปลูกที่ 2 ของผู้สนับสนุนและพันธมิตร โครงการฯ และทีมกรมป่าไม้ได้ลงพื้นที่ติดตามผลปลูกของป่าชุมชนบ้านพุตูมในแปลงที่ 2 เพื่อติดตามผลการเติบโตของต้นไม้ พบว่า ต้นไม้ในแปลงปลูกมีความสูงเฉลี่ยระหว่าง 70 เซนติเมตร สัดส่วนต้นไม้ที่รอดตาย 90 % โดยจะมีปลูกซ่อมแซมต่อไป ประเภทต้นไม้ที่เติบโตดี ได้แก่ สัก พะยอม มะค่าโมง สัก ทองอุไร โดยชุมชนมีการล้อมรั้วลวดหนามป้องกันสัตว์บุกรุก และมีแนวเขตการปลูกต้นไม้ชัดเจน
การติดตามผลการปลูกแปลงที่ 2 ครั้งที่ 2 # กันยายน 2566
กรมป่าไม้และชุมชนลงพื้นที่ปลูกและรายงานผล การเติบโตต้นไม้ในแปลงปลูกมีความสูงเฉลี่ยระหว่าง 100–120 เซนติเมตร สัดส่วนต้นไม้ที่รอดตาย 90% (จะมีปลูกซ่อมแซมต่อไป) ประเภทต้นไม้ที่เติบโตดี ได้แก่ สัก พะยอม มะค่าโมง มะขาม ทองอุไร โดยชุมชนมีการล้อมรั้วลวดหนามป้องกันสัตว์บุกรุก และมีแนวเขตการปลูกต้นไม้ชัดเจน
แหล่งน้ำที่ใช้รดน้ำต้นไม้จากอ่างเก็บน้ำผาหยด ติดตั้งปั๊มน้ำเพื่อสูบน้ำเข้าสู่ระบบน้ำหยดรดโคนต้นไม้ ในขณะที่ชุมชนใส่ใจเข้ามาดูแลบำรุงต้นไม้อย่างต่อเนื่อง ใส่ปุ๋ย พรวนดิน มีการกำจัดวัชพืช และติดตั้งรั้วลวดหนามถาวรเพื่อป้องกันการบุกรุกจากสัตว์ รวมถึงมีการจัดทำแนวกันไฟในช่วงฤดูแล้ง
การติดตามผลการปลูกแปลงที่ 2 ครั้งที่ 3 # กันยายน 2567
การติดตามผลปลูกในปี 2567 นี้ โครงการฯ ได้มอบหมายให้ทีมงานคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำทีมโดย ดร.นรินธร จำวงษ์
รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยป่าไม้ ลงพื้นที่พร้อมกับชุมชนและกรมป่าไม้ สำรวจแปลงปลูก เพื่อรายงานผลลัพธ์การติดตามผลปลูกที่ใช้เทคโนโลยี
การบินโดรนบนพื้นที่จริง พบว่า ต้นไม้ในแปลงที่ 2 ได้รับผลกระทบคล้ายกับแปลงที่ 1 จากการปรับปรุงสันเขื่อนโดยกรมชลประทานที่สูบน้ำ
ออกจากอ่างเก็บน้ำผาน้ำหยดส่งผลให้ปริมาณความชื้นในแปลงลดลง แต่อย่างไรก็ตามชุมชนและกรมป่าไม้จะวางแผนการบริหารจัดการการใช้น้ำ
โดยวางท่อใต้พื้นดิน เพื่อสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำเพื่อรดต้นไม้จากสายยางที่วางทั่วแปลงปลูกต่อไป โดยจะเริ่มดำเนินการปรับปรุงระบบน้ำรองรับ
แปลงปลูกใหม่ในช่วงปลายฤดูฝน (ประมาณเดือนธันวาคม 2567)
(ผู้ที่สนใจในการร่วมสร้างผืนป่าร่วมกับโครงการ Care the Wild “ปลูกป้อง” สร้างป่าด้วยใจ เพื่อสร้างสมดุลในระบบนิเวศ สามารถติดต่อได้ที่ ของเว็บไซต์ SET Social Impact ร่วมเป็นสื่อกลางในการสร้างป่าเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี)