ป่าชุมชนบ้านหนองปลิง

หมู่ 7 ต.ทุ่งกระบ่ำ อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี

ลดแล้ง ลดพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม”

ชุมชนให้ความสำคัญในเรื่องของการดูแลป่าหลังการปลูก ส่งผลให้พืชพันธุ์ในพื้นที่มีอัตราการรอดตาย 
ช่วยลดปัญหาความแห้งแล้งและพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม
 
พื้นที่ปลูก : 50 ไร่
พันธุ์ไม้ที่ต้องการปลูก :
 ไม้ป่ายืนต้น เช่น ประดู่ พะยูง มะขามป้อม แดง เต็ง รัง

_________________________________________________________________________________________________________

เนื้อที่ป่าชุมชน : 1,804-0-48 ไร่
ได้รับอนุมัติจากกรมป่าไม้ : 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ประเภทป่า : ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดอนแสลบและป่าเลาขวัญ
ระยะทางจากกรุงเทพ : 164 กิโลเมตร
ระยะเวลาเดินทางจากกรุงเทพ : 2 ชั่วโมง 30 นาที

 

---------------------------------------------------------------------------------------------

   | แปลงปลูกที่ 1 : ปลูก มิถุนายน 2566

               แปลงปลูกที่ 2 : ปลูก มิถุนายน 2567

   | พื้นที่ปลูก :  50 ไร่

             แปลงปลูกที่ 1 จำนวน 10 ไร่

             แปลงปลูกที่ 2/3 จำนวน 20 ไร่

   | ความสูงเฉลี่ย : แปลงปลูกที่ 1 : 53- 63 เซนติเมตร

               ความสูงเฉลี่ย : แปลงปลูกที่ 2/3 : 30 - 33 เซนติเมตร 

   | อัตราการรอดตายของต้นไม้ : 

              แปลงปลูกที่ 1 : 100% ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2567

              แปลงปลูกที่ 2 : 80% ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2567

---------------------------------------------------------------------------------------------

Update : การสนับสนุน การปลูก การดูแลและติดตามผลการเติบโต

---------------------------------------------------------------------------------------------

ลงพื้นที่สำรวจความพร้อมแปลงปลูก

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน  2564  ทีมงานของโครงการ Care the Wild  พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิของคณะทำงาน คุณประลอง ดำรงค์ไทย อดีตอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ลงพื้นที่เพื่อร่วมประชุมกับชุมชนและเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ ซึ่งดูแลในพื้นที่ปลูกแห่งนี้  เพื่อเป็นการสำรวจความเหมาะสมและความพร้อมของพื้นที่ปลูก พร้อมทั้งทำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์โครงการฯ ร่วมกับคณะกรรมการป่าชุมชน โดยมีประธานคณะกรรมการชุมชน นายหน่วย บุญลือและ ผอ. ประทีป เอกฉันท์  ผู้อำนวยการศูนย์ป่าไม้กาญจนบุรี

การสำรวจพื้นที่ร่วมกัน

เมื่อวันที่  12 กรกฏาคม 2565  ทีมงานและผู้บริหารของ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) หรือ DMT บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯประกอบธุรกิจผู้รับสัมปทานในการก่อสร้างและให้บริการทางยกระดับอุตราภิมุขช่วงดินแดง – อนุสรณ์สถาน (ทางยกระดับดอนเมือง)  โดยดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบของ ESG ให้ความสำคัญกับนโยบายด้านความยั่งยืน ด้วยการส่งมอบคุณค่าแก่สิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคมมาโดยตลอด ซึ่งเป็น 1 ใน 170 บริษัทหุ้นยั่งยืน หรือ Thailand Sustainability Investment (THSI) ประจำปี 2565 และร่วมเป็นพันธมิตรโครงการ Care the Wild ด้วยเป้าหมายการลดปัญหาโลกร้อนที่ต้นทางอย่างยั่งยืน ได้ร่วมเดินทางพร้อมพันธมิตรโครงการ Care the Wild เข้าพื้นที่ปลูกเพื่อสำรวจและพิจารณาให้การสนับสนุนการปลูกต้นไม้บนพื้นที่ป่าชุมชนบ้านหนองปลิง ต.ทุ่งกระบ่ำ อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี จำนวน 50 ไร่  เพื่อปลูกต้นไม้จำนวน 10,000 ต้น และวางแผนปลูกต่อเนื่องให้แล้วเสร็จภายใน  3 ปี 


  

การดำเนินงานวางแผนการปลูกและการบริหารจัดการน้ำ  

คณะกรรมการป่าชุมชนบ้านหนองปลิง และทีมงานป่าไม้จังหวัดกาญจนบุรี ได้ร่วมมือวางแผนการปลูกต้นไม้โดยมีกระบวนการทำงานนับตั้งแต่ การประชุมชี้แจงร่วมกัน การวางแผนเข้าพื้นที่ปลูกเพื่อเตรียมพื้นที่ปลูก  การชี้แจงเพื่อแบ่งโซนปลูกต้นไม้  การสำรวจรังวัดและปักหลักแนวเขต  การถาง เก็บริบ สุมเผา  การเตรียมหลักและปักหมายจุดปลูก  การเตรียมกล้าไม้ การเตรียมหลุมปลูก  การวางแผนเลือกประเภทต้นไม้ พันธ์ไม้ที่เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก รวมถึงการจัดทำระบบน้ำ  

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

  

ปี 2566 กิจกรรมปลูกต้นไม้ ครั้งที่ 1 จำนวน 10 ไร่ 

 

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2566 ซึ่งตรงกับวันต่อต้านปัญหาภัยแล้งและฝนแล้งของโลก (World Day to Combat Desertification and Drought)  ทีม “ปลูกป้อง” จากโครงการ Care the Wild และพันธมิตร บมจ.ทางยกระดับดอนเมือง : DMT กรมป่าไม้ และสมาชิกชุมชนกว่า 80 คน ร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ให้ได้ผืนป่า ณ ป่าชุมชนบ้านหนองปลิง ต.ทุ่งกระบ่ำ อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี โดยในฤดูปลูกของปีนี้เริ่มต้นปลูกต้นไม้บนพื้นที่ 10 ไร่ รวมต้นไม้กว่า 2,000 ต้น และจะทยอยปลูกต่อเนื่องทุกปี ป่าชุมชนบ้านหนองปลิง มีพื้นที่กว่า 1,700 ไร่ เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง เริ่มจัดตั้งเป็นป่าชุมชนตั้งแต่ปี 2553 มีนายหน่วย บุญลือ  ผู้นำชุมชน และชาวบ้านหนองปลิงช่วยกันดูแลอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยสภาพพื้นที่แห้งแล้ง ผืนป่าเสื่อมโทรม ส่งผลให้การดูแลอาจยากขึ้น ซึ่งการสนับสนุนจากโครงการฯ เพื่อปลูกต้นไม้เพิ่ม และติดตั้งระบบน้ำหยดช่วยรดต้นไม้ในช่วงฝนแล้ง จะช่วยให้พื้นที่ป่าแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้นถ้าต้นไม้รอดตาย 100 % ซึ่งชาวบ้านจะได้รับประโยชน์จากการดูแล และผืนป่าแห่งนี้จะเปรียบเสมือนซุปเปอร์มาร์เก็ต และเป็นโรงเรียนธรรมชาติให้กับเยาวชนได้ศึกษา รวมทั้งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของชุมชน

สำหรับประเภทต้นไม้ ที่ปลูกได้รับการวางแผนและคัดเลือกร่วมกับชุมชน ให้ตรงกับความต้องการและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ป่าที่ค่อนข้างแห้งแล้งและมีผืนดินปนทราย ประกอบด้วย ไม้ป่ายืนต้น มะค่าโมง มะค่าแต้ ประดู่ สะเดา และพะยูง ไม้ยืนต้น (พืชเกษตร) มะม่วง มะขามป้อม และหว้า


    

  

ผลลัพธ์ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

พื้นที่ป่าชุมชนบ้านหนองปลิง มีเนื้อที่ป่าชุมชน 1,804-0-48 ไร่  ชาวบ้านชุมชนได้ใช้ประโยชน์และเป็นแหล่งอาหารทั้งบริโภคเองและเป็นรายได้  เช่น หน่อไม้ พืชผลไม้จากป่า เห็ด เป็นต้น  ได้แก่ ชาวบ้านในหมู่ที่ 7 ต.ทุ่งกระบ่ำ อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี 165 ครัวเรือน รวม 600  คน  เป็นหลัก  นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านของหมู่ที่ 2  3  4 และ 6  ที่ได้ ใช้ประโยชน์ร่วมกันอีกด้วยรวมกว่า 2,600  คน

 

การติดตามผลปลูกครั้งที่ 1 # กันยายน  2566

ชุมชนร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ ได้ร่วมลงสำรวจผลสำเร็จการปลูกเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566  พบว่าการปลูกมีความสำเร็จด้วยดี จากสัดส่วนต้นไม้ที่รอดตาย 100 %  โดยเฉลี่ยความสูงโดยรวมอยู่ระหว่าง 30 - 40 เซนติเมตร ประเภทต้นไม้ที่เติบโตได้ดี คือ มะขามป้อม ประดู่ และพะยูง

    

การติดตามผลปลูกครั้งที่ 2 # พฤษภาคม 2567

จากการสำรวจแปลงปลูก พบว่า ต้นไม้มีอัตราการรอดตาย 50% ความสูงของต้นไม้เฉลี่ย 30 เซนติเมตร ต้นไม้ที่เติบโตได้ดี ไม้ป่ายืนต้น ได้แก่ มะค่าโมง มะค่าแต้ ประดู่ สะเดา และพะยูง พืชเกษตร ได้แก่ มะม่วง มะขามป้อม และหว้า ไม้ดอก ได้แก่ หางนกยูง ชุมชนเข้ามาดูแลบำรุงต้นไม้ พรวนดินรอบๆโคนและใส่ปุ๋ยต้นไม้ มีการกำจัดวัชพืชโดยวิธีการถางทั้งพื้นที่แปลงปลูก และการกำจัดการระบบน้ำเป็นระบบน้ำหยดวางกระจายรอบพื้นที่ โดยดึงน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ รดน้ำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง และทำการจัดทำแนวกันไฟ โดยใช้รถไถดันแนวกันไฟรอบแปลงปลูก

    

         

ซึ่งในช่วงต้นปี 2567 จนถึงพฤษภาคม 2567 มีอากาศแห้งแล้งมาก น้ำไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถรดน้ำต้นไม้ได้และทำให้ต้นไม้ตาย ซึ่งในช่วงฤดูฝน ต้องตรวจดูต้นไม้ที่ปลูก หากพบว่าตายให้ดำเนินการปลูกซ่อมทดแทนต้นที่ตาย โดยนำต้นไม้ที่จัดเตรียมและมีขนาดเหมาะสมมาปลูกทดแทน

    

 

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การติดตามผลปลูกครั้งที่ 3 # กันยายน 2567

จากการติดตามผลการปลูกในเดือนพฤษภาคม ซึ่งพบว่ามีต้นไม้ตายไปจำนวนกว่า 50% เนื่องจากในช่วงต้นปีมีภาวะแล้งที่ยาวนาน  จากปรากฎการณ์เอลนีโญ่ ส่งผลให้แหล่งน้ำในพื้นที่ปลูกแห้งไม่มีน้ำรดต้นไม้ ชุมชนและกรมป่าไม้ได้ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและปลูกต้นไม้ซ่อมแซมต้นไม้ที่ตายไป จนส่งผลให้สัดส่วนต้นไม้มีอัตราการรอด 100% 

ทั้งนี้ โครงการฯ ได้มอบหมายให้ทีมงานวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำทีมโดย ดร.นรินธร จำวงษ์ รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยป่าไม้ ลงพื้นที่พร้อมกับชชุมชนและกรมป่าไม้ เพื่อถ่ายภาพทางอากาศเพื่อเก็บข้อมูลในเชิงละเอียด พบว่าเฉลี่ยความสูงของต้นไม้อยู่ระหว่าง 53-63 เซนติเมตร ประเภทต้นไม้ที่โตดี ได้แก่ พะยูง ประดู่ป่า มะขามป้อม โดยชุมชนมีการกำจัดวัชพืชปีละ 2 ครั้งโดยเน้นช่วงปลายฤดูฝน เนื่องจากวัชพืชเติบโตเร็ว และลดเชื้อเพลิงในสวนป่าสำหรับแหล่งน้ำในฤดูฝนปีนี้มีฝนต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการกักเก็บน้ำได้มากเพื่อใช้ดูดขึ้นมาและส่งไปตามท่อน้ำหยดเพื่อรดน้ำบริเวณโคนต้น อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง 

  

  

ในพื้นที่แปลงปลูกมีการจัดทำแนวกันไฟกว้าง 3-4 เมตร และมีการประชาสัมพันธ์โครงการฯให้ชุมชนห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาบริเวณแปลงปลูก ทั้งนี้ ในแปลงปลูกที่ 1 มีสภาพดินค่อนข้างเป็นทรายและมีธาตุอาหารที่ต่ำอาจส่งผลต่อการเติบโตที่ล่าช้าได้

    

ปี 2567 กิจกรรมปลูกต้นไม้แปลงปลูกที่ 2 จำนวน 20 ไร่   

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2567 โครงการ Care the Wild  และพันธมิตร ได้แก่  กรมป่าไม้  คณะกรรมการป่าชุมชนและสมาชิกชุมชน จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ให้ได้ผืนป่า ร่วมกับผู้สนับสนุน บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) หรือ DMT พร้อมด้วยนิสิตนักศึกษาจากมูลนิธิทางสู่ฝันปั้นคนเก่ง รวมกว่า 100 คน ร่วมกิจกรรม ณ ป่าชุมชนบ้านหนองปลิง ต.ทุ่งกระบ่ำ อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี

โดย DMT ตั้งเป้าสนับสนุนการปลูกต้นไม้รวมทั้งสิ้น 50 ไร่ ณ ป่าชุมชนบ้านหนองปลิง โดยปลูกต่อเนื่องทุกปีนับจากปี 2566 ปลูกเสร็จสิ้นแล้วจำนวน 10 ไร่ และในฤดูปลูกของปี 2567 นี้ได้ปลูกต้นไม้เพิ่มอีก 20 ไร่ รวมปลูกต้นไม้แล้วกว่า 6,000 ต้น โดยประเภทต้นไม้ที่ปลูกประกอบด้วย ไม้ป่า : มะค่าโมง มะค่าแต้ แคนา มะขามป้อม ประดู่ป่า และพะยูง ไม้ป่ากินได้ : ผักหวานป่า หว้า และไม้กินได้ : มะขามเทศ มะขามเปรี้ยว ขนุน มะม่วง เป็นต้น

  

ภายในกิจกรรม ดร.ศักดิ์ดา พรรณไวย กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยผู้บริหารและพนักงาน นิสิตนักศึกษาจากมูลนิธิทางสู่ฝันปั้นคนเก่ง และพี่น้องชุมชน นำโดยนายหน่วย บุญลือ ประธานคณะกรรมการป่าชุมชน ได้ร่วมปลูกและเรียนรู้กระบวนการปลูกเชิงคุณภาพ  รองรับสภาพพื้นที่แห้งแล้ง เสื่อมโทรม  รวมทั้งการวางแผนติดตั้งระบบน้ำหยดช่วยรดต้นไม้ในช่วงฝนแล้ง ซึ่งจะช่วยให้บรรลุ เป้าหมายอัตราการรอดตาย    100 %

   

กิจกรรม “ปลูกและปกป้องป่าชุมชน” ภายใต้โครงการ Care the Wild  มีจุดประสงค์หลักเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า ซึ่งการเพิ่มจำนวนต้นไม้ในผืนป่าชุมชนนอกจากจะเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ผืนป่าของโลก เพิ่มปริมาณออกซิเจนซึ่งช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ดีที่สุดเพื่อสร้างภาวะสมดุลของระบบนิเวศแล้ว ยังได้ส่งมอบคุณค่าให้กับชุมชนทั้งการสร้างงานและเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติ  ซึ่ง บมจ. ทางยกระดับดอนเมือง : DMT เป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญที่มีเจตนารมณ์ในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่การดูแลสิ่งแวดล้อมและชุมชนอย่างยั่งยืน

  

 

  

 

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หมายเหตุ พื้นที่ปลูกรวม 30 ไร่ มีการสำรวจรังวัดแบ่งเป็นแปลงละ 10 ไร่

 

การติดตามผลปลูกแปลงที่ 2 และ 3 ครั้งที่ 1 # กันยายน 2567

กรมป่าไม้และชุมชนร่วมลงพื้นที่สำรวจผลปลูกต้นไม้ จำนวน 20 ไร่ ปลูกต้นไม้ 4,000 ต้น ซึ่งแบ่งเป็น 2 แปลง แปลงละ 10 ไร่ พบว่าต้นไม้มีอัตรารอด 80% ความสูงของต้นไม้ระหว่าง 30-33 เซนติเมตร โดยต้นไม้ที่เติบโตดี ได้แก่ พะยูง ประดู่ และมะค่าแต้

  

ในช่วงหลังการปลูกแล้วเสร็จ ผู้นำชุมชนและคณะกรรมการป่าชุมชน ได้มีการเข้ามาดูแลกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยสม่ำเสมอ มีการวางแผนการจัดทำระบบน้ำหยดในแปลงจนแล้วเสร็จ เพื่อรดน้ำบริเวณโคนต้น อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง รวมทั้งจะได้มีการวางแผนปลูกซ่อมต้นไม้จากการนับอัตรารอดตายต่อไป โดยจะดูช่วงความเหมาะสมในการทำงานร่วมกันต่อไป

 

 

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(ผู้ที่สนใจในการร่วมสร้างผืนป่าร่วมกับโครงการ Care the Wild “ปลูกป้อง” สร้างป่าด้วยใจ เพื่อสร้างสมดุลย์ในระบบนิเวศ
สามารถติดต่อได้ที่  ของเว็บไซต์ SET Social Impact ร่วมเป็นสื่อกลางในการสร้างป่าเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี)
ผู้เข้าชม  1716