ป่าชุมชนบ้านใหม่

 หมู่ 13 ต.แม่ข้าวต้ม อ.เมือง จ.เชียงราย

สร้างแหล่งอาหารธรรมชาติให้ชุมชน
พัฒนาป่าเป็นแหล่งท่องเที่ยว"

จุดเด่น : ชุมชนมีการปลูกป่าอยู่เป็นประจำ เช่น ไผ่ เพื่อเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติ
ให้ชุมชนได้เข้ามาใช้ประโยชน์จากผลผลิต และปลูกเพื่อเป็นพืชคลุมดินให้ป่าชุมชนมีความชุ่มชื้น 
 
พื้นที่ปลูก : 20 ไร่ (จำนวนต้นไม้ 4,200 ต้น)
พันธุ์ไม้ที่ต้องการปลูก :
- ไม้ยืนต้น เช่น สัก ประดู่ มะค่าโมง ยางนา พะยูง หว้า กัลปพฤกษ์ นางพญาเสือโคร่ง งิ้วดอกแดง
- พืชเกษตร และไม้ผล ได้แก่ มะขามป้อม มะขามเปรี้ยว อะโวคาโด้
___________________________________________________________________________________________
เนื้อที่ป่าชุมชน : 520 ไร่
ได้รับอนุมัติจากกรมป่าไม้ : ต่ออายุป่าชุมชน 21 มกราคม พ.ศ. 2562
ประเภทป่า : ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้
ระยะทางจากกุรงเทพ : 805 กิโลเมตร
ระยะเวลาเดินทางจากกรุงเทพ : 10 ชั่วโมง 52 นาที

---------------------------------------------------------------------------------------------

   | แปลงปลูกที่ 1 : ปลูก สิงหาคม 2564

               แปลงปลูกที่ 2 : ปลูก มิถุนายน 2565

   | พื้นที่ปลูก : 20 ไร่

   | ความสูงเฉลี่ย : แปลงปลูกที่ 1 : 2-3 เมตร 

               ความสูงเฉลี่ย : แปลงปลูกที่ 2 : 130 เซนติเมตร

   | อัตราการรอดตายของต้นไม้ : 95% ข้อมูล ณ สิงหาคม 2567 

---------------------------------------------------------------------------------------------

Update : การสนับสนุน การปลูก การดูแลและติดตามผลการเติบโต

---------------------------------------------------------------------------------------------

การสนับสนุนจากองค์กรภาคธุรกิจ 

  

ป่าชุมชนบ้านใหม่ หมู่ 13 ต.แม่ข้าวต้ม อ.เมือง จ.เชียงราย ได้รับการสนับสนุนทุนเพื่อปลูกต้นไม้จำนวน 10 ไร่ ด้วยจำนวนต้นไม้ 2,100 ต้น จากบริษัท โปรเจค แพลนนิ่ง เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นพันธมิตรสนับสนุนงบประมาณแก่โครงการ Care the Wild โดยกรมป่าไม้ ทำงานร่วมมือกับชุมชนเข้มแข็ง ภายใต้การนำของ ผู้ใหญ่สัมพันธ์ ทนทาน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 13  ซึ่งเป็นประธานกรรมการป่าชุมชนบ้านใหม่ โดยมีจำนวนครัวเรือนในชุมชน 142 ครัวเรือน ร่วมดูแลและรายงานการเติบโตของการปลูกป่าต่อเนื่อง 6 ปี นับตั้งแต่การปลูกเมื่อเดือนสิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา

 

การสำรวจพื้นที่ร่วมกัน

เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563 ทีมคณะทำงานโครงการ Care the Wild ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรมป่าไม้ พร้อมด้วยผู้นำชุมชน ร่วมลงพื้นที่สำรวจศักยภาพชุมชนถอดบทเรียนเพื่อต่อยอดการทำงานกับชุมชน

 

  

สำรวจพื้นที่ปลูกป่า และประชุมร่วมกับผู้นำชุมชนเพื่อวางแผนการปลูกป่าเพิ่มพื้นที่สีเขียว และเป็นต้นน้ำเพื่อการเกษตรรวมทั้งแหล่งอาหารจากป่า แก่ชุมชนที่อาศัยในบริเวณป่าชุมชนและชุมชนใกล้เคียง

---------------------------------------------------------------------------------------------

ขั้นตอนการเตรียมการปลูก

 

  

 

สมาชิกชุมชนบ้านใหม่ ดำเนินการล้างท้องป่า เพื่อเตรียมหน้าดินสำหรับการปลูกต้นไม้ โดยกำจัดวัชพืชบริเวณแปลงปลูกพื้นที่ 10 ไร่

---------------------------------------------------------------------------------------------

กระบวนการปลูก

ป่าชุมชนบ้านใหม่ได้รับการสนับสนุนทุนเพื่อปลูกต้นไม้ จำนวน 10 ไร่ โดยทีมกรมป่าไม้ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 2 (จ.เชียงราย) และผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกชุมชนบ้านใหม่ ได้ร่วมประชุมวางแผนการปลูก เตรียมการปลูก และดำเนินการปลูกได้ครบ 10 ไร่ เป็นไปตามแผนที่กำหนด เมื่อเดือนสิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา

 

สมาชิกชุมชนบ้านใหม่ วางแผนการปลูก โดยแบ่งโซน และแบ่งจำนวนต้นไม้ให้ชาวบ้านรับผิดชอบดูแล คนละ 85 ต้น

 

 

วางระบบน้ำหยดเป็นแถว รวมทั้งหมด 20 แถว โดยแต่ละแถวจะมีระยะห่าง 2x4 เมตร และสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำไปยังถังเก็บน้ำ ขนาด 1,000 ลิตร และปล่อยน้ำตามท่อลงสู่โคนต้นไม้ โดยควบคุมด้วยระบบวาล์ว เพื่อให้ต้นไม้ได้น้ำอย่างเพียงพอในช่วงฤดูแล้งหรือฝนขาดช่วง

  

 

เตรียมพันธุ์กล้าไม้ที่จะปลูกเช่น สัก ประดู่ มะค่าโมง ยางนา พะยูง หว้า กัลปพฤกษ์ นางพญาเสือโคร่ง งิ้วดอกแดง มะขามป้อม มะขามเปรี้ยว อะโวคาโด้ จำนวนรวม 2,000 ต้น

 

ขุดหน้าดินปักแนวหลักสะเต็กไม้ไผ่ยาว 80 เซนติเมตร เพื่อปลูกต้นไม้ตามแนวปักหลัก

   

ทำแนวปลูก ขึงเส้น วางจุดระยะการปลูกระยะห่าง 2x4 เมตร

 

ขุดหลุมตามเส้นแนวหลักสะเต็กไม้ไผ่ สำหรับการใส่ปุ๋ยรองพื้นและพอลิเมอร์

 

ใส่ปุ๋ยรองพื้นและพอลิเมอร์ลงในหลุมที่ดำเนินการขุดไว้ตามเส้นแนวหลักสะเต็กไม้ไผ่

 

  

 

---------------------------------------------------------------------------------------------

 

ผลสำเร็จการปลูกป่าจำนวน 10 ไร่แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2564

สมาชิกชุมชนบ้านใหม่ร่วมบำรุงดูแลรักษาต้นไม้ เพื่อให้ต้นไม้มีอัตราการรอดตายสูงสุด และดูแลต่อเนื่องเป็นเวลา 6 ปี และมีการปลูกซ่อมเสริมกรณีต้นไม้ตาย โดยมีเป้าหมายต้นไม้ที่ปลูกมีอัตราการรอด 100 เปอร์เซ็น

 

ผลลัพธ์ต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม

จากการสนับสนุนของภาคธุรกิจ ในการระดมทุนเพื่อปลูกต้นไม้ในป่าชุมชนบ้านใหม่ ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุม 520 ไร่ สร้างผลสำเร็จการปลูกป่าจำนวน 10 ไร่ ด้วยต้นไม้กว่า 2,100 ต้น ช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ 18,000 กิโลกรัมคาร์บอนไดซ์ออกไซต์เทียบเท่า และเป็นแหล่งอาหาร และเพิ่มพื้นที่ป่าลดแล้ง สร้างประโยชน์ให้กับชุมชนบ้านใหม่ หมู่ 13 ซึ่งมีสมาชิก 142 ครัวเรือน และหมู่ 6 ประมาณ 50 ครัวเรือน หมู่ 11 กว่า 60 ครัวเรือน หมู่ 21 ประมาณกว่า 30 ครัวเรือน อีกทั้งยังส่งผลให้ได้ใช้ประโยชน์จากต้นน้ำ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพิ่มความสมบูรณ์ให้ป่าต้นน้ำ  เพื่อเกษตรกรใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทำกิน และเป็นแหล่งอาหารจากป่า

 

---------------------------------------------------------------------------------------------

กิจกรรมปลูกแปลงที่ 2 ร่วมกับผู้สนับสนุน และติดตามผลปลูกแปลงที่ 1 

Care the Wild “ปลูกป้อง” รีบปลูก ผนึกพันธมิตร บมจ.โปรเจค แพลนนิ่ง เซอร์วิส เดินหน้าปลูกต้นไม้ 10 ไร่ ของฤดูปลูกปี 65  ณ ป่าชุมชนบ้านใหม่ ต.แม่ข้าวต้ม อ.เมือง จ.เชียงราย

ดร.พงศ์ธร ธาราไชย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทโปรเจค แพลนนิ่ง เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ PPS  นำพันธมิตรจากโครงการ Care the Wild  ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ  กรมป่าไม้ และพี่น้องชุมชนบ้านใหม่รวมกว่า 50 คน ร่วมกิจกรรมปลูกป่าเพิ่มพื้นที่สีเขียวพร้อมดูแลต่อเนื่อง 10 ปี  นำร่องปลูกต้นไม้แปลงที่ 2  อีก 10 ไร่  หลังปลูกต้นไม้ 10 ไร่ เมื่อปี 64 ที่ผ่านมา  ด้วยแนวคิด “แลกพื้นที่ทำงาน ด้วยการเพิ่มพื้นที่ป่า” ด้วยเหตุผลที่  PPS มีพื้นที่โครงการก่อสร้างที่สนามบินแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย จึงต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งพลังงาน การใช้พื้นที่ เป็นต้น

   

การฟื้นฟูดูแลระบบนิเวศจึงเป็นหน้าที่สำคัญของการดำเนินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม พื้นที่ปลูกแปลงนี้มีความลาดชันสูงเพราะอยู่บริเวณเนินเขา มีดินปนทรายและมีวัชพืชจำนวนมาก  การดูแลอย่างใส่ใจของทีม “ปลูกป้อง”  พี่น้องชุมชนบ้านใหม่ จึงมีความสำคัญมาก อีกทั้งการวางแผนระบบน้ำหยดที่สูบน้ำจากแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรขึ้นไปพักบนถังน้ำจุดสูงสุด และปล่อยผ่านสายยางไปยังต้นไม้ทุกต้น ในช่วงระยะเวลาที่ฝนทิ้งฤดู และการแบ่งจำนวนต้นไม้ให้รับผิดชอบดูแลรายคน ส่งผลดีต่อการปลูกในปีก่อนด้วยอัตราการรอดตายมากกว่า 90% และมีการดำเนินการปลูกซ่อมแซมดูแลให้ครบ 100% ตามเป้าหมาย  

 

ภาพถ่ายทางอากาศ พื้นที่ป่าชุมชนบ้านใหม่

  

ทั้งนี้ ผลจากการขยายพื้นที่ป่าให้กับชุมชนเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาตินั้น เมื่อต้นไม้ทั้ง 20 ไร่เจริญเติบโตจะสามารถช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจกได้ 36,000 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

    

        

ต้นไม้ที่ปลูกในแปลงที่ 1 (ปี 2564)

---------------------------------------------------------------------------------------------

การติดตามผลปลูกครั้งที่ 2  :  พฤษภาคม  2566

ชุมชนและกรมป่าไม้ ได้ลงพื้นที่สำรวจผลการปลูกและอัตราการเติบโตและรอดตายของแปลงปลูกทั้ง 2 แปลง โดยแปลงที่ 1 ปลูกเมื่อปี 2564 และแปลงที่ 2 ปลูกเมื่อปี 2565 ตามลำดับ

แปลงที่ 1 : ติดตามผล 3 พฤษภาคม 2566

ภาพรวมอัตราการรอดตายเกิน 90 %  การเติบโตโดยรวม เฉลี่ยความสูงของต้นไม้ ประมาณ 180 - 230  cm  ความโตของเส้นรอบวงต้นไม้เฉลี่ย 6-9 cm  ประเภทต้นไม้เติบโตดีได้แก่ ต้นสัก  พะยูง งิ้วดอกแดง มะขามป้อม หว้า  โดยชุมชนเข้ามาดูแลพื้นที่ปลูกสม่ำเสมอ และมีการกำจัดวัชพืชรอบโคนต้นไม้ในช่วงเดือนเมษายน 2566

การติดตั้งระบบน้ำหยดโดยต่อระบบน้ำจากอ่างเก็บน้ำกักไว้ในแทงค์น้ำด้านบนและปล่อยน้ำรดต้นไม้เดือนละ 2 ครั้ง และมีการวางแผนปลูกต้นไม้ทดแทนต้นไม้ที่ตายในเดือนกรกฎาคม 2566

ทั้งนี้ พื้นที่ปลูกแห่งนี้จะมีพื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ปลูกพืช ข้าวโพด สับปะรด ไม่มีชุมชนอาศัย

    

    

แปลงที่ 2 : ติดตามผล 18 พฤษภาคม 2566

ภาพรวมอัตราการรอดตายประมาณ  85 %  การเติบโตโดยรวม เฉลี่ยความสูงของต้นไม้ ประมาณ 50 - 90  cm  ประเภทต้นไม้เติบโตดีได้แก่ ต้นสัก  พะยูง ยางนา มะขามป้อม โดยชุมชนเข้ามาดูแลพื้นที่ปลูกสม่ำเสมอ และมีการกำจัดวัชพืชรอบโคนต้นไม้ในช่วงเดือนเมษายน 2566 มีการจัดทำแนวกันไฟเพิ่มเติมในแปลงนี้และมีการลาดตระเวณดูแลประจำทุกเดือนในช่วงฤดูแล้ง

การติดตั้งระบบน้ำหยดโดยต่อระบบน้ำจากอ่างเก็บน้ำกักไว้ในแทงค์น้ำด้านบนและปล่อยน้ำรดต้นไม้เดือนละ 2 ครั้ง  และมีการวางแผนปลูกต้นไม้ทดแทนต้นไม้ที่ตายในเดือนกรกฎาคม 2566

    

    

 

การติดตามผลปลูกครั้งที่ 3 ร่วมกับผู้สนับสนุน  ช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม 2566

เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา ทีมงานโครงการ Care the Wild กรมป่าไม้ พร้อมด้วยผู้บริหารของบมจ. โปรเจค แพลนนิ่ง เซอร์วิส ดร. พงศ์ธร ธาราไชย  ประธานกรรมการบริหาร บมจ.โปรเจค แพลนนิ่ง เซอร์วิส PPS และทีมงาน ร่วมลงพื้นที่ติดตามผลปลูกของแปลงปลูกทั้ง 2 แปลงรวมพื้นที่ 20  ไร่  นอกจากนี้ยังได้ร่วม workshop เรียนรู้การทำงานติดตามผลปลูกด้วยเทคโนโลยีการบินโดรนบนพื้นที่จริง  ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท The Next Forest  ซึ่งเป็น Social Enterprise  ผู้ประกอบการเพื่อสังคมที่ให้คำปรึกษาและบริการด้านฟื้นฟูป่า เพื่อให้ได้ผลลัพธ์การติดตามผลปลูกที่ใช้เทคโนโลยีการติดตามที่เหมาะสมควบคู่การติดตามและรายงานผลจากชุมชนและสามารถนำเทคโนโลยีไปปรับใช้ในกระบวนการติดตามผลปลูกต่อไป

ผลการเติบโตแปลงปลูกที่ 1 จำนวน  10  ไร่

ภาพรวมอัตราการรอดตายเกิน 95%  การเติบโตโดยรวม เฉลี่ยความสูงของต้นไม้ ประมาณ 200 - 250  cm  ความโตของเส้นรอบวงต้นไม้เฉลี่ย 7-10 cm  ประเภทต้นไม้เติบโตดีได้แก่ ต้นสัก  พะยูง งิ้วดอกแดง มะขามป้อม หว้า โดยชุมชนเข้ามาดูแลพื้นที่ปลูกสม่ำเสมอ และมีการกำจัดวัชพืชรอบโคนต้นไม้ในช่วงเดือนมิ.ย.- ก.ย. 2566

การติดตั้งระบบน้ำหยดโดยต่อระบบน้ำจากอ่างเก็บน้ำกักไว้ในแทงค์น้ำด้านบนและปล่อยน้ำรดต้นไม้เมื่อเห็นว่าต้นไม้เริ่มแสดงอาการขาดน้ำ (เนื่องจากต้นไม้มีขนาดใหญ่ขึ้นจึงลดการให้น้ำลงจากเดิมเดือนละ  2 ครั้ง)  ชุมชนมีการทำแนวกันไฟและลาดตระเวณดูแลการเกิดไฟป่าประจำทุกเดือน

ผลการเติบโตแปลงปลูกที่ 2 จำนวน  10  ไร่

ภาพรวมอัตราการรอดตายประมาณ  90 %  การเติบโตโดยรวม เฉลี่ยความสูงของต้นไม้ ประมาณ 70 - 110  cm  ประเภทต้นไม้เติบโตดีได้แก่ ต้นสัก  พะยูง ยางนา มะขามป้อม โดยชุมชนเข้ามาดูแลพื้นที่ปลูกสม่ำเสมอ และมีการกำจัดวัชพืชรอบโคนต้นไม้ในช่วงเดือนมิ.ย.- ก.ย. 2566  โดยมีการจัดทำแนวกันไฟและมีการลาดตระเวณดูแลประจำทุกเดือน

การติดตั้งระบบน้ำหยดโดยต่อระบบน้ำจากอ่างเก็บน้ำกักไว้ในแทงค์น้ำด้านบนและปล่อยน้ำรดต้นไม้เมื่อเห็นว่าต้นไม้เริ่มมีอาการขาดน้ำ

    

    

    

 

---------------------------------------------------------------------------------------------

การติดตามผลปลูกครั้งที่ 4 ติดตามผลปลูก เมื่อสิงหาคม 2567

ทีมงานคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำทีมโดย ดร.นรินธร จำวงษ์ รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยป่าไม้ ลงพื้นที่พร้อมกับชุมชนและกรมป่าไม้ สำรวจแปลงปลูกทั้ง 2 แปลง และได้รายงานผลลัพธ์การติดตามผลปลูกที่ใช้เทคโนโลยีการบินโดรนบนพื้นที่จริง โดยภาพรวมผลการปลูกในพื้นที่แปลงปลูกป่าชุมชนบ้านใหม่ มีพื้นที่ปลูกจำนวน 20 ไร่

แปลงที่ 1 : จากการสำรวจพบว่าอัตราการรอดตาย 95% ความสูงของต้นไม้เฉลี่ย 200-270 ซม. ความโตของต้นไม้(เส้นรอบวง) เฉลี่ย 10-14 ซม. ต้นไม้ที่เติบโตได้ดี ได้แก่ สัก มะขามป้อม หว้า พะยูง งิ้วดอกแดง และกัลปพฤกษ์ โดยชุมชนเข้ามาดูแลสม่ำเสมอ มีการจำกัดวัชพืชรอบโคนต้นไม้ในเดือนพฤษภาคม - กันยายน 2567 ที่ผ่านมา

    

  

แปลงที่ 2 : ภาพรวมแปลงปลูกที่ 2  จากการสำรวจพบว่าอัตราการรอดตาย 95% ความสูงของต้นไม้เฉลี่ย 100-130 ซม. ความโตของต้นไม้เฉลี่ย 7-10 ซม. ต้นไม้ที่เติบโตได้ดี ได้แก่ สัก มะขามป้อม พะยูงและยางนา ซึ่งชุมชนเข้ามาดูแลอย่างสม่ำเสมอ จำกัดวัชพืชรอบโคนต้นเมื่อเห็นว่าวัชพืชเริ่มส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ในเดือนพฤษภาคม-กันยายน 2567

      

    

  

การติดตั้งระบบน้ำหยดโดยต่อจากระบบน้ำจากอ่างเก็บน้ำบริเวณใกล้เคียง โดยให้น้ำเมื่อเห็นว่าต้นไม้เริ่มแสดงอาการขาดน้ำ และมีการจัดทำแนวกันไฟ ขนาด 5 – 6 เมตร ในช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์  โดยเป็นเส้นทางลาดตะเวนประจำทุกเดือนด้วย

  

สภาพพื้นที่ป่าชุมชนบ้านใหม่โดยรอบเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ปลูกข้าวโพด สัปปะรด ยางพารา เป็นต้นและยังพบปัญหาเถาวัลย์คลุมต้นกล้า ส่งผลให้ต้นกล้าตาย โดยมีการดำเนินการปลูกทดแทนต้นไม้ที่ตายในช่วงเดือนพฤษภาคม - กันยายน 2567 ด้วยการจัดหากล้าไม้โดยกรมป่าไม้ เช่น สัก ประดู่ป่า มะขามป้อม เป็นต้น 

การจำกัดวัชพืชในพื้นที่แปลงปลูก ซึ่งมีสภาพชัน และมีการปลูกตามแนวเส้นชันระดับความสูง ในการกำจัดวัชพืชจำเป็นต้องใช้แรงงานคนและเครื่องตัดหญ้า ดำเนินการกำจัดวัชพืชตามร่องปลูก โดยมีการเจาะช่องปลูกและกำจัดวัชพืชรอบโคนต้นไม้ตามแนวปลูก

  

  

พื้นที่ปลูกมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ บริเวณพื้นที่ปลูกพบว่ามีปริมาณน้ำเพียงพอในช่วงฤดูแล้ง โดยสำหรับพื้นที่ปลูกที่อยู่ใกล้อ่างเก็บน้ำจะมีการปั๊มน้ำผ่านสายระบบน้ำหยดโดยตรงให้กับกล้าไม้ที่ปลูก สำหรับพื้นที่ปลูกตามแนวเส้นชั้นระดับความสูงจะมีการปั๊มน้ำขึ้นไว้ในจุดวางถังน้ำและปล่อยน้ำผ่านท่อ PVC ขนาดใหญ่สู่สายระบบน้ำหยดขนาดเล็กจากด้านบนสู่ด้านล่างตามแนวแถวปลูก

  

 

---------------------------------------------------------------------------------------------

(ผู้ที่สนใจในการร่วมสร้างผืนป่าร่วมกับโครงการ Care the Wild “ปลูกป้อง” สร้างป่าด้วยใจ เพื่อสร้างสมดุลในระบบนิเวศ สามารถติดต่อได้ที่  ของเว็บไซต์ SET Social Impact ร่วมเป็นสื่อกลางในการสร้างป่าเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี)

 

 

ผู้เข้าชม  3754