ต.ดอยฮาง อ.เมือง จ.เชียงราย
"ฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธารที่ถูกทำลาย"
จุดเด่น : สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศาสตร์พระราชาวัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ ให้ความสำคัญในเรื่องของการดูแลป่าหลังการปลูก โดยปลูกต้มไม้ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 (ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ) ส่งผลให้พืชพันธุ์ในพื้นที่มีอัตราการรอดตายสูง และมีศูนย์เรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติศาสตร์พระราชา ดอยอินทรีย์ เพื่อการเรียนรู้และรักษาป่าอย่างยั่งยืน
---------------------------------------------------------------------------------------------
พื้นที่ปลูก : 15 ไร่ (จำนวนต้นไม้หลัก 3,000 ต้น ) และไม้ใต้ร่มเงาและพืชเบิกนำ เช่น โกโก้ กล้วย ไม้เลื้อย ไม้หัวฝังดิน (จำนวน 1,500 ต้น)
พันธุ์ไม้ที่ต้องการปลูก :
- ไม้เศรษฐกิจ เช่น พะยูง ยางนา มะค่าโมง สัก ประดู่ ไม้แดง
- ไม้ผลใต้ร่มเงา เช่น ลองกอง ทุเรียน มังคุด มะม่วง เงาะ มะยงชิด มะขามยักษ์
- ไม้ใต้ร่มเงาและพืชเบิกนำ เช่น โกโก้ กล้วย
- ไม้เลื้อยเรี่ยดิน พริกไทย ฟักทอง แตงกวา มัน
- ไม้หัวฝังดิน เช่น เผือก มันม่วง กระชาย ข่า ขมิ้น ไพร มันป่า ตะไคร้ อัญชัน
_____________________________________________________________
เนื้อที่ป่าชุมชน : 300 ไร่
ได้รับอนุมัติจากกรมป่าไม้ : 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ประเภทป่า : โครงการสร้างป่า สร้างรายได้ ป่าเบญจพรรณ
ระยะทางจากกรุงเทพ : 829 กิโลเมตร
ระยะเวลาเดินทาง : เมืองเชียงราย - พื้นที่โครงการ 13.5 กิโลเมตร 30 นาที
---------------------------------------------------------------------------------------------
| เริ่มปลูก 17 ตุลาคม 2563 แปลงนำร่อง – เดือนมิถุนายน 2564
| พื้นที่ปลูก 15 ไร่
| ความสูงเฉลี่ย 2.5 – 3 เมตร ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2566
| อัตราการรอดตายของต้นไม้ : 95 % ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2566
---------------------------------------------------------------------------------------------
Update : การสนับสนุน การปลูก การดูแลและติดตามผลการเติบโต
---------------------------------------------------------------------------------------------
การสนับสนุนจากองค์กรภาคธุรกิจ
เมื่อเดือนตุลาคมปี 2563 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นำโดย ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและพนักงานกว่า 40 คน ร่วมกิจกรรม Study Tour “ทอดผ้าป่าต้นไม้ เรียนรู้ ป่า-น้ำ-อากาศ-ชุมชน”ความสัมพันธ์ที่สร้างสมดุลของชีวิตและสิ่งแวดล้อม และร่วมปลูกต้นไม้ให้ได้ผืนป่า โดยปลูกในพื้นที่นำร่องบนพื้นที่ป่าดอยอินทรีย์ 1 ไร่ จำนวนต้นไม้ 200 ต้น ร่วมกับสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศาสตร์พระราชาวัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ นำโดยพระอาจารย์วิบูล ธัมมเตโช ที่ปรึกษาวัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ และนายอำนาจ เจิมแหล่ ประธานกรรมการ และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจฯ เป็นองค์กรผู้ปลูกป่า ภายใต้โครงการสร้างป่า สร้างรายได้ เพื่อฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธารที่ถูกทำลายจากไฟป่าที่เกิดจากการดำรงชีวิตประจำวันของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ล้อมรอบป่า ซึ่งมีพื้นที่รวมกว่า 8,082 ไร่
ตลาดหลักทรัพย์ฯ สนับสนุนงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนโครงการ Care the Wild “ปลูกป้อง” Plant & Protect ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ให้รอดตาย 100% มีพื้นที่แปลงปลูกป่าในโครงการฯ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกเสริม จำนวน 15 ไร่ จากพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เดิม ของโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ โดยปลูกป่าตามหลักการป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ปลูกป่า 5 ระดับในพื้นที่ปลูกของเกษตรกรในโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ ของสมเด็จพระเทพฯ เพื่อปลูกเสริมขยายพื้นที่ป่าให้สมบูรณ์ เพิ่มพื้นที่สีเขียวและเป็นแหล่งอาหารที่ยั่งยืน ซึ่งสามารถสร้างรายได้จากผลผลิตของแปลงปลูกแก่เกษตรกรผู้ปลูก สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศาสตร์พระราชาวัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ ซึ่งพร้อมดูแลต้นไม้ให้รอดตายต่อเนื่องนาน 6 ปี อีกทั้งยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ สร้างประโยชน์ให้กับ 6 หมู่บ้าน ในตำบลดอยฮาง ซึ่งมีสมาชิกกว่า 1,000 ครัวเรือน
ทีมผู้บริหารคณะทำงานโครงการ Care the Wild ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คณะผู้บริหารและพนักงาน กว่า 40 คน ร่วมทำกิจกรรมปลูกต้นไม้ให้ได้ผืนป่า ปลูกต้นไม้จำนวน 200 ต้น บนแปลงปลูกนำร่อง 1 ไร่ ในพื้นที่ป่าดอยอินทรีย์ ร่วมกับประธานกลุ่มและสมาชิกวิสาหกิจชุมชนศาสตร์พระราชาวัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ จ.เชียงราย
---------------------------------------------------------------------------------------------
การติดตามผลการปลูกครั้งที่ 1 # 17 เมษายน 2564
กระบวนการปลูก และการบริหารจัดการน้ำ
ป่าดอยอินทรีย์ได้รับการสนับสนุนทุนเพื่อปลูกต้นไม้ จำนวน 15 ไร่ โดยดำเนินการปลูกนำร่องจำนวน 1 แปลง ซึ่งมีนายอำนาจ เจิมแหล่ ประธานกรรมการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศาสตร์พระราชาวัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ จ.เชียงราย เป็นผู้ดูแล และเมื่อเดือนมิถุนายนดำเนินการปลูกเพิ่มเติมในพื้นที่จำนวน 14 ไร่ ซึ่งดูแลโดย 14 ครัวเรือน สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศาสตร์พระราชาวัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ จ.เชียงราย โดยดำเนินการเตรียมการปลูก และดำเนินการปลูกได้ครบ 15 ไร่ เป็นไปตามแผนที่กำหนด เมื่อเดือนมิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา
โดยมีการแบ่งสรรให้สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ รับผิดชอบดูแลการปลูกทั้ง 15 แปลง ดังนี้
แปลงที่ 1 นายอำนาจ เจิมแหล่ ปลูกต้นไม้ตามหลักป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง
แปลงที่ 2 นายบรรพต คีรีเทียมเมฆา
แปลงที่ 3 นางเครือวัลย์ ธุวะคำ
แปลงที่ 4 นายจุฬา ยอดภพ
แปลงที่ 5 นายณัฐพล อภิบาลไพรวัลย์
แปลงที่ 6 นายพิเชษฐ์ นาวัน
แปลงที่ 7 นางอรดี ลาเซอ
แปลงที่ 8 นายนุพร ศรีสม
แปลงที่ 9 นายกุศล วันเพชร แปลงที่ 10 นายโกศัลย์ นาวา แปลงที่ 11 นายคมสัน ศรีสม
แปลงที่ 12 นายบันลือ ต่างกลาง แปลงที่ 13 นายสวัสดิ์ ศรีสม แปลงที่ 14 นางอนุรักษ์ฺ ทาวัน
แปลงที่ 15 นายจิรพงษ์ ลาเซอ
ผลสำเร็จการปลูกป่าจำนวน 15 ไร่แล้วเสร็จเมื่อเดือนมิถุนายน 2564
สมาชิกวิสาหกิจชุมชนศาสตร์พระราชาพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ ร่วมบำรุงดูแลรักษาต้นไม้ เพื่อให้ต้นไม้มีอัตราการรอดตายสูงสุด และดูแลต่อเนื่องเป็นเวลา 6 ปี และมีการปลูกซ่อมเสริมกรณีต้นไม้ตาย โดยมีเป้าหมายต้นไม้ที่ปลูกมีอัตราการรอด 100 เปอร์เซ็น
ผลลัพธ์ต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม
จากการสนับสนุนของภาคธุรกิจ ในการระดมทุนเพื่อปลูกต้นไม้ในป่าดอยอินทรีย์ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุม 300 ไร่ สร้างผลสำเร็จการปลูกป่าจำนวน 15 ไร่ ด้วยต้นไม้กว่า 3,000 ต้น ช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ 27,000 กิโลกรัมคาร์บอนไดซ์ออกไซต์เทียบเท่า และเป็นแหล่งอาหาร เพิ่มพื้นที่ป่าลดแล้ง และเป็นศูนย์การเรียนรู้ สร้างประโยชน์ให้กับ 6 หมู่บ้าน ในตำบลดอยฮาง ซึ่งมีสมาชิกกว่า 1,000 ครัวเรือน เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพิ่มความสมบูรณ์ให้ป่าต้นน้ำ เพื่อเกษตรกรใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทำกิน และเป็นแหล่งอาหารจากป่า
---------------------------------------------------------------------------------------------
การติดตามผลการปลูกครั้งที่ 2 # 20 มิถุนายน 2564
- ภาพรวมมีการปลูกแล้วเสร็จประมาณ 80% โดย ส่วนใหญ่เป็นไม้ป่า ประกอบด้วย ไม้ยางนา ตะเคียน พะยูง ประดู่ ไม้แดง สัก พยอม มะค่าโมง ลงปลูกในพื้นที่ 15 แปลง รวมจำนวนกว่า 2,059 ต้น
- เนื่องจากติดปัญหาฝนทิ้งช่วงเจ้าของแปลงปลูกยังไม่สามารถปลูกต้นไม้ได้ จึงชะลอการปลูกไม้ป่า โดยจะปลูกเพิ่มอีก 310 ต้น และอยู่ระหว่างรอกล้าไม้ผล ได้แก่ เงาะ ลองกอง มังคุด ส้มโอ มะยงชิด มะขามยักษ์ ละมุด โดยจำนวนไม้ผลมีรวมประมาณ 335 ต้น และไม้ชั้นล่าง ได้แก่ โกโก้ แจกกล้าไม้แบ่งกันแล้วจะเริ่มทยอยปลูกเมื่อฝนตก จำนวน 600 ต้น * (*เป็นกล้าจากการบริหารจัดการเงินสนับสนุนจำนวน 2 แสนบาท SET มอบแก่วิสาหกิจชุมชน super ดอยอินทรีย์ เพาะต้นกล้าได้ 60,000 ต้นเพื่อสนับสนุนเกษตรกรสมาชิกนำไปปลูกและจำหน่ายเป็นรายได้ต่อเนื่องขยายผลการทำงาน)
คณะทำงานและเจ้าของแปลงปลูกดำเนินการปลูกป่าตามแนวทาง (ป่า 5 ระดับ)
---------------------------------------------------------------------------------------------
การติดตามผลการปลูก ครั้งที่ 3 # 4 เมษายน 2565
ภาพรวมพื้นที่ปลูก จำนวน 15 ไร่ จำนวนต้นไม้ที่ปลูกรวม 4,105 ต้น
ประเภทต้นไม้ ยางนาง พยุง ตะเคียนทอง โกโก้ กล้วยน้ำว้า สัก เงาะ ลองกอง ไม้แดง มะข้าม ไผ่ซางหมน ขนุน มะข้ามป้อม มังคุด พะยอม ขมิ้น ขิง ไพร ส้มโอ ข่า มะม่วง ยมหอม ไผ่ซางนวล
การเติบโตโดยรวม
ภาพถ่ายพื้นที่ปลูก
ภาพถ่ายต้นไม้และการดูแลรักษา
---------------------------------------------------------------------------------------------
การติดตามผลการปลูก ครั้งที่ 4 # 26 มิถุนายน 2565
ภาพรวมพื้นที่ปลูก จำนวน 15 ไร่ จำนวนต้นไม้ที่ปลูกรวม 4,105 ต้น โดยแต่ละแปลงปลูกจะดูแลโดยสมาชิกวิสาหกิจชุมชนศาสตร์พระราชาพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ ที่ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับกล้าพันธ์และงบประมาณเพื่อดูแลต้นไม้ รวม 15 ราย
ประเภทต้นไม้ ยางนาง พยุง ตะเคียนทอง โกโก้ กล้วยน้ำว้า สัก เงาะ ลองกอง ไม้แดง มะข้าม ไผ่ซางหมน ขนุน มะข้ามป้อม มังคุด พะยอม ขมิ้น ขิง ไพร ส้มโอ ข่า มะม่วง ยมหอม ไผ่ซางนวล
การเติบโตโดยรวม
นอกจากนี้ในโครงการปลูกได้มอบกล้าไม้โกโก้ เริ่มทยอยปลูกเมื่อปลายปี 64 จำนวน 600 ต้น * (*เป็นกล้าจากการบริหารจัดการเงินสนับสนุนจำนวน 2 แสนบาท SET มอบแก่วิสาหกิจชุมชน “super ดอยอินทรีย์” เพาะต้นกล้าได้ 60,000 ต้น เพื่อสนับสนุนเกษตรกรสมาชิกนำไปปลูกและจำหน่ายเป็นรายได้ต่อเนื่องขยายผลการทำงาน) และการปลูกด้วย
การติดตามผลการปลูก ครั้งที่ 5 # 7 สิงหาคม 2566
การติดตามผลปลูกในครั้งนี้ ได้มีการลงพื้นที่สำรวจจริงโดย บริษัทเดอะ เน็กซ์ ฟอเร็ซ จำกัด ( The Next Forest ) ธุรกิจเพื่อสังคมผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูป่า ให้ดำเนินการติดตามและประเมินผลการปลูกป่าแห่งนี้
ภาพรวมพื้นที่ปลูก จำนวน 15 ไร่ จำนวนต้นไม้ที่ปลูกรวม 4,105 ต้น โดยแต่ละแปลงปลูกจะดูแลโดยสมาชิกวิสาหกิจชุมชนศาสตร์พระราชาพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ ที่ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับกล้าพันธ์และงบประมาณเพื่อดูแลต้นไม้ รวม 15 ราย
ประเภทต้นไม้ ได้แก่ ไม้ยืนต้น ยางนาง พะยูง ตะเคียนทอง กันเกรา เพกา ประดู่ สัก กัลปพฤกษ์ พะยอม ยมหอม รวมทั้งการปลูกไม้ผลไม้กินได้ อาทิ โกโก้ กล้วยน้ำว้า เงาะ ลองกอง ไผ่ซางหมน ขนุน มะข้ามป้อม ฝรั่งกิมจู มังคุด ส้มโอ มะม่วง มะรุม ท้ออินเดีย ข่าขมิ้น ขิง ไพร
การเติบโตโดยรวม
จากผลการสำรวจเพื่อติดตามผลต้นไม้ในแปลงปลูกป่าในป่าดอยอินทรีย์ พบว่าต้นไม้ที่ปลูกมีอัตราการรอดชีวิต 95 % ความหนาแน่นประมาณ 223.59 ต้น/ไร่ เนื่องจากพื้นที่ทั้งหมด 15 ไร่นั้น บางบริเวณมีต้นไม้ตามธรรมชาติขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นแล้ว ชาวบ้านจึงได้นำต้นไม้ไปปลูกเพิ่มในพื้นที่โล่งที่สามารถปลูกได้ ทำให้ความหนาแน่นที่สำรวจพบในบริเวณที่ปลูกเกิน 200 ต้น/ไร่
ผลการติดตามการดูแลต้นไม้ของผู้นำชุมชนและชาวบ้าน ต.ดอยฮาง จ.เชียงราย พบว่า ได้ดูแลต้นไม้ที่ปลูกเป็นอย่างดี กล้าทุกต้นที่ปลูกมีไม้หลักเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการปลูกกล้าไม้และเพื่อไม่ให้ตัดหญ้าโดนต้นกล้าที่ปลูก ทำการคลุมหน้าดินด้วยใบกล้วยและปลูกพืชล้มลุกคลุมดิน เมื่อมีไม้ล้มได้นำหลักมาปักประคองต้นไม้ให้สามารถมีชีวิตต่อได้
การบำรุงรักษาต้นไม้
การกำจัดวัชพืช
ชาวบ้านได้มีการกำจัดวัชพืชในพื้นที่เพื่อลดการแก่งแย่งแข่งขันและเพิ่มการรอดชีวิตของกล้าไม้ในแปลงปลูก ซึ่งแต่แปลงปลูกมีการจัดการที่แตกต่างกัน กล่าวคือ บางแปลงได้คลุมหน้าดินด้วยฟาง เศษหญ้า ใบกล้วย และใบไม้ที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ทำให้หญ้าไม่ขึ้นบริเวณนั้น แต่ก็ได้มีการตัดแต่งเถาวัลย์ที่เลื้อยพันกล้าไม้ ส่วนบางแปลงได้กำจัดวัชพืช เช่น หญ้า โดยการใช้มีดตัดหญ้าบริเวณโคนต้นไม้ และใช้เครื่องตัดหญ้าตามหลัง
การปลูกพืชคลุมดิน
การจัดหาแหล่งน้ำ
ในแปลงปลูกของเกษตรกรมีการเตรียมถังเก็บน้ำขนาดใหญ่และสายยาง เพื่อรดน้ำในฤดูแล้ง โดยมีจุดติดตั้งคือส่วนบนสุดของแปลงปลูกต้นไม้เพื่อสะดวกต่อการจัดการและการจ่ายน้ำ
การจัดทำแนวกันไฟ
แปลงปลูกส่วนใหญ่ใกล้กับป่าธรรมชาติ ซึ่งมีการป้องกันไฟป่าอย่างเข้มแข็ง โดยการทำแนวกันไฟในช่วงฤดูแล้ง ทั้งบริเวณแปลงปลูกและโดยรอบป่าอินทรีย์ เพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติให้มากที่สุด
การป้องกันสัตว์บุกรุก
บางแปลงมีการปลูกต้นไม้เป็นรั้วเพื่อเป็นจุดสังเกตให้ผู้เลี้ยงสัตว์ไม่ปล่อยสัตว์เลี้ยง เช่น วัว เข้ามาในพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตามผู้นำชุมชนและชาวบ้านได้มีการเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อเสียของการเข้ามาของปศุสัตว์เป็นอย่างดี และได้มีการพูดคุยกันระหว่างคนในชุมชน ซึ่งทำให้ลดการเข้ามาของปศุสัตว์ ในการสำรวจครั้งนี้แม้ว่าจะพบร่องรอยมูลวัวในพื้นที่ แต่ไม่พบการเหยียบย่ำกล้าไม้ และการกัดกิน
การป้องกันการบุกรุกพื้นที่เขตการปลูก
เนื่องจากพื้นที่ปลูกต้นไม้มีขอบเขตชัดเจน สามารถสังเกตได้จากแถวและแนวการปลูกต้นไม้ การกำจัดวัชพืช ทำให้พื้นที่ปลูกแตกต่างจากการทำการเกษตรอื่นๆ จึงทำให้ไม่มีการบุกรุงพื้นที่เขตการปลูก อีกทั้งพื้นที่ปลูกใกล้ทั้งป่าธรรมชาติบริเวณที่ชาวบ้านสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ ใกล้พื้นที่ทำกิน ทำให้มีการช่วยสอดส่องดูแลอยู่เสมอ
(ผู้ที่สนใจในการร่วมสร้างผืนป่าร่วมกับโครงการ Care the Wild “ปลูกป้อง” สร้างป่าด้วยใจ เพื่อสร้างสมดุลในระบบนิเวศ สามารถติดต่อได้ที่ ของเว็บไซต์ SET Social Impact ร่วมเป็นสื่อกลางในการสร้างป่าเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี)