ป่าชุมชนบ้านหลังเขา

บ้านหลังเขา หมู่ที่ 6 ต.หนองกร่าง อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี

“ป่าศักยภาพพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ”

 

พื้นที่ปลูก : 20 ไร่ พื้นที่ปลูกป่าอยู่ในพื้นที่ป่าชุมชน ได้รับการดูแลจากคณะกรรมการ และราษฎร อยู่ใกล้ชุมชนและบ่อบาดาล
สามารถเข้าไปบำรุงดูแลรักษาต้นไม้ที่ปลูกได้สะดวก
พันธุ์ไม้ที่ต้องการจะปลูก :
- ไม้ป่ายืนต้น ได้แก่ มะค่าโมง พะยูง ประดู่ แดง
- พืชวนเกษตร และไม้ผล ได้แก่ มะม่วง เงาะ ขนุน มะขาม มะพร้าว

__________________________________________________________________

เนื้อที่ป่าชุมชน : 2,670-0-79 ไร่
สถานะป่า : ป่าชุมชนตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562
ระยะทางจากกรุงเทพ : 171 กิโลเมตร
ระยะเวลาเดินทางจากกรุงเทพ : 2 ชั่วโมง 42 นาที

__________________________________________________________________

 

การสนับสนุนจากองค์กรภาคธุรกิจ

 

 

Care the Wild “ปลูกป้อง”  รีบปลูก แปลงที่ 5 ของฤดูปลูกปี 65 ผนึก บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) ปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่ป่า 10 ไร่
ณ ป่าชุมชนบ้านหลังเขา อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี รวมพื้นที่ปลูกแล้ว 138 ไร่ พร้อมเดินหน้าปลูกเพิ่มต่อเนื่องเกือบ 200 ไร่ ในฤดูปลูกปีนี้

คุณวุฒิ วิพันธ์พงษ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คุณอัศวิน รองหานาม รองประธานสายงานจัดซื้อจัดจ้าง
คุณพงษ์ลดา อินทวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการ 
ฝ่ายกิจการเพื่อสังคม นำทีมพนักงาน บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน)” (ASW) กว่า 30 คน  และพันธมิตร
คุณนงรัก งามวิทย์โรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์ฯ  ทีมผู้บริหารของกรมป่าไม้ คุณนันทนา บุณยานันต์  ผู้อำนวยการสำนักจัดการป่าชุมชน  คุณประทีป เอกฉันท์ 
ผู้อำนวยศูนย์ป่าไม้กาญจนบุรี และชุมชนเข้มแข็ง นำทีมโดยประธานกรรมการป่าชุมชน ธนกรณ์ รุ่งเรือง

ร่วมกิจกรรมนำร่องปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า 10 ไร่ ณ ป่าชุมชนบ้านหลังเขา อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี

 

คุณวุฒิ วิพันธ์พงษ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวถึงบทบาทในการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และขอบคุณพันธมิตรภายใต้โครงการ Care the Wild 

 

คุณนงรัก งามวิทย์โรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

คุณนันทนา บุญยานันท์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้

กล่าวถึงความร่วมมือในการดำเนินโครงการ ขอบคุณผู้สนับสนุนและทีมปลูกป้อง ชุมชนบ้านหลังเขา

 

"ทีมหมาเฝ้าป่า" นำทีมโดยประธานกรรมการป่าชุมชน คุณธนกรณ์ รุ่งเรือง
การรวมตัวของชุมชนจิตอาสาที่เข้มแข็ง ทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลป่าด้วยความหวงแหน
สร้างความเชื่อมั่นให้โครงการ Care the Wild ต้นไม้ต้องรอด 100%

 

ASW  ดำเนินธุรกิจโครงการที่อยู่อาศัยบ้านและคอนโดมีเนียม ภายใต้แบรนด์  Atmoz, Kave, Modiz, Wynn เป็นต้น ด้วยแนวคิด “GrowGreen” คือวิถีการดำเนินธุรกิจที่เกิดจากความตั้งใจในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างสังคมที่เกื้อหนุนให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี และยั่งยืน สนับสนุนโครงการ Care the Wild เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว

พระอาจารย์ภูธร ภูริทัตโต ที่ปรึกษาป่าชุมชน สำนักสงฆ์ถ้ำเจริญธรรม

 

  

ผู้บริหาร Asset wise ร่วมปลูกต้นไม้ให้ได้ผืนป่า ณ ป่าชุมชนบ้านหลังเขา อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี

 

“ที่นี่โชคดีมากที่มีชุมชนเข้มแข็ง มีพระอาจารย์ผู้ศรัทธาดูแลป่า เป็นผู้นำชุมชน ทั้งยังมีกลุ่มชาวบ้านที่มีจิตใจหวงแหนผืนป่า
มีความอยากเป็นเจ้าของป่าชุมชน คือเขามองว่าพวกเขาเป็นเจ้าของป่า เขาต้องดูแลป่า
เพื่อที่ป่าจะดูแลเขาในอนาคต เพราะสามารถเก็บผลผลิตจากป่าได้ ตรงนี้เป็นการเกื้อกูลระบบนิเวศซึ่งกันและกัน”
คุณวุฒิ วิพันธ์พงษ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าว

 

สร้างระบบนิเวศที่สมดุลและประโยชน์ในการลดปัญหาโลกร้อน  20 ไร่ ณ ป่าชุมชนบ้านหลังเขา โดยเริ่มปลูกในปีนี้ 10 ไร่ และปลูกต่อเนื่องอีก 10 ไร่
ในฤดูปลูกของปีหน้า สอดรับกับแนวคิดและวิถีการดำเนินธุรกิจ และยังสร้างประโยชน์ให้เป็นแหล่งอาหารธรรมชาติแก่ชุมชนในระยะยาวอีกด้วย

 


 

กิจกรรมปลูกต่อเนื่องปีที่ 2  พื้นที่ 10 ไร่  รวมพื้นที่ปลูก 20 ไร่  : 15 กรกฎาคม 2566

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม  2566 บมจ.แอสเซทไวส์ " ปลูก ปกป้อง " ป่าชุมชนบ้านหลังเขา จ.กาญจนบุรี เพิ่มต่อเนื่องปีที่ 2 ต้นไม้รวมกว่า 4,000 ต้น ด้วยพันธุ์ไม้กว่า 17 ชนิด บนพื้นที่รวม 20ไร่  ( ในปี  2565 ปลูกต้นไม้ 10 ไร่ และ ปี 2566 ปลูกต้นไม้เพิ่ม 10 ไร่)  เพื่อสร้างระบบนิเวศที่สมดุล ลดปัญหาโลกร้อน และสร้างประโยชน์ให้เป็นแหล่งอาหารแก่ชุมชนในระยะยาว

โดยกิจกรรมปลูกครั้งนี้ ทีมผู้บริหารและพนักงานจิตอาสาของบมจ.แอสเซทไวส์ บริษัทจดทะเบียนในกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นำโดยคุณวุฒิ วิพันธ์พงษ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริการ  พร้อมสมาชิกชุมชนและเยาวชนจากโรงเรียนบ้านหลังเขา อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี และทีมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ (จ.กาญจนบุรี) รวมกว่า 80 คน ได้ร่วมกิจกรรมการปลูกต้นไม้ ให้ได้ผืนป่าอย่างแท้จริงบนพื้นที่ป่าชุมชนแห่งนี้ 2  

ภายในกิจกรรมปลูก มีคุณประลอง ดำรงค์ไทย อดีตอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้ทรงคุณวุฒิคณะทำงานฯ โครงการ Care the Wild พร้อมคณะผู้บริหารและพนักงานบมจ.แอสเซทไวส์ นำโดยคุณวุฒิ วิพันธ์พงษ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ร่วมนำนักเรียนโรงเรียนบ้านหลังเขากว่า 30 คนร่วมเรียนรู้การปลูกและการดูแลต้นไม้  เพื่อปลูกจิตสำนึกรักต้นไม้แก่เยาวชนรุ่นหลัง

บมจ.แอสเซทไวส์ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเพิ่มพื้นที่สีเขียวควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมให้เกิดความยั่งยืนด้วยนโยบาย Growgreen ด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัท 5 แกนหลัก ซึ่งกิจกรรมคือ “ปลูกต้นไม้ให้ได้ผืนป่า” โครงการ Care the Wild "ปลูกป้อง" Plant & Protect ตอบสนองในแกนหลักของ Green Space และ Clean Air และยังสอดคล้องกับโครงการ “Plant for the Planet ปลูกเพิ่มเพื่อลดอุณหภูมิ” ของบริษัทที่มุ่งสร้างความสุขของการอยู่อาศัยของลูกบ้านด้วยสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศที่สมบูรณ์ มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจให้อยู่บนพื้นฐานของความยั่งยืน

แปลงปลูกนี้มีการติดตั้งระบบน้ำหยดช่วยรดต้นไม้ในช่วงฝนทิ้งช่วงยาวนาน ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นทางอย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิดต้นไม้ต้องรอดตาย 100% เพื่อให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์จากผืนป่าซึ่งเปรียบเสมือนซุปเปอร์มาร์เก็ต และเป็นโรงเรียนธรรมชาติให้กับเยาวชนได้ศึกษา เพื่อสืบทอดเป็นมรดกสู่ลูกหลานต่อไป

ผลลัพธ์ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม 

ป่าชุมชนบ้านหลังเขา อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ Care the Wild มีเนื้อที่ป่าชุมชนกว่า 2,670 ไร่ และหากย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีก่อนที่ยังไม่ได้รับจัดตั้งเป็นป่าชุมชน สภาพพื้นที่ค่อนข้างเสื่อมโทรม จากการถูกบุกรุก ทั้งยังเกิดไฟป่านับครั้งไม่ถ้วน จนที่สุดชาวบ้านจำนวนหนึ่งจึงลุกขึ้นมาปกป้องดูแล พร้อมกับฟื้นฟูต้นไม้ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ ผลักดันจนสามารถก่อตั้งเป็นป่าชุมชนได้ในปี พ.ศ. 2545 และมีสถานะเป็นป่าชุมชนตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562  ส่งผลให้เกิดประโยชน์กับชุมชนทั้งช่วยลดความแห้งแล้งของผืนป่า ยังได้ใช้ประโยชน์และเป็นแหล่งอาหารทั้งบริโภคเองและเป็นรายได้  เช่น หน่อไม้ พืชผลไม้จากป่า เห็ด เป็นต้น 

 

ติดตามผลปลูกแปลงที่ 1 (10 ไร่) ปลูกเมื่อปี 2565  ครั้งที่ 1  :  22 สิงหาคม 2566

แปลงปลูกที่ 1  ปลูกต้นไม้กว่า 2,000 ต้น โดยประเภทไม้ป่า ได้แก่ กระถินณรงค์ กระพี้จั่น คูน จามจุรี แดง พะยูง มะค่าแต้ มะค่าโมง พืชเกษตร ได้แก่มะขาม มะขามป้อม มะขามเปรี้ยว สะเดา ไม้ผลได้แก่ มะม่วง หว้า และไม้ดอก เช่น หางนกยูง และอินทรีย์

อัตราการเติบโตโดยรวมเฉลี่ยความสูงของต้นไม้ประมาณ 54  cm  สัดส่วนอัตรารอดของต้นไม้ 100 % โดยประเภทต้นไม้ที่เติบโตดี ได้แก่ หางนกยูง และต้นอินทรีย์  โดยชุมชนมีการดูแลบำรุงรักษาต้นไม้สม่ำเสมอมีการพรวนดิน ใส่ปุ๋ยและกำจัดวัชพืช โดยกำหนดเป็น 2 ครั้งในช่วงต้นฤดูฝน และสิ้นฤดูฝนก่อนฤดูแล้งเพื่อลดปริมาณเชื้อเพลิงในป่าให้น้อยที่สุด ซึ่งจะช่วยป้องกันเกิดไฟป่าด้วย พร้อมทั้งมีการทำแนวกันไฟรอบแปลงปลูกด้วย

สำหรับการจัดหาแหล่งน้ำมีการจัดหาอุปกรณ์ท่อน้ำเป็นระบบน้ำหยดวางกระจายทุกแนวปลูก โดยดึงน้ำจากแหล่งธรรมชาติ (ห้วยน้ำ)  และบ่อบาดาล รดต้นไม้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งในช่วงขาดฝน


 

ติดตามผลปลูกแปลงที่ 2  (10 ไร่) ปลูกเมื่อปี 2566  ครั้งที่ 1  :  25 กันยายน  2566

แปลงปลูกที่ 2  ปลูกต้นไม้จำนวน 2,000 ต้น โดยประเภทต้นไม้ที่ปลูก ประกอบด้วย ไม้ป่า ได้แก่  มะค่าโมง ตะเคียน แคนา มะฮอกกานี  ยางนา แดง สักประดู่ป่า รัง มะหาดและพฤกษ์  พืชเกษตร ได้แก่ มะขามป้อม มะขามเปรี้ยว  และไม้ดอก ได้แก่ หางนกยูง อัตราการเติบโตโดยรวมเฉลี่ยความสูงของต้นไม้ประมาณ 30 - 40  cm  สัดส่วนอัตรารอดของต้นไม้ 100 % โดยประเภทต้นไม้ที่เติบโตดี ได้แก่ มะค่าโมงและมะขามป้อม  โดยแปลงปลูกนี้มีกระบวนการทำงานของชุมชนในการปลูกและดูแลการเตรียมพื้นที่ ทั้งการสำรวจรังวัด การถางเก็บริบสุมเผา การเตรียมกล้าไม้  การเตรียมหลักปัก การเตรียมหลุมปลูกสำหรับกิจกรรมปลูกของผู้สนับสนุนร่วมกับชุมชนกรจัดทำระบบน้ำหยดในพื้นปลูกรองรับช่วงฝนขาดช่วง  และการบำรุงรักษาหลังปลูก  ชุมชนมีการดูแลบำรุงรักษาต้นไม้สม่ำเสมอมีการพรวนดิน ใส่ปุ๋ยและกำจัดวัชพืช


 

_____________  ภาพการดำเนินงาน  _____________

1.การประชุมชี้แจง

2.การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม

3.การสํารวจรังวัดและปักหลักแนวเขต

 

4.การถาง เก็บ ริบ สุมเผา

5. การเตรียมหลัก


6.การปักหลักหมายจุดปลูก

7. การเตรียมกล้าไม้

8. การเตรียมหลุมปลูก

9.ปลูกต้นไม้

10. การบํารุงรักษาต้นไม้

11.การกําจัดวัชพืช


12. การจัดทําระบบน้ำ

 

ติดตามผลปลูกแปลงที่ 1 ( 10 ไร่ ) ปลูกเมื่อปี 2565  ครั้งที่ 2  :  กันยายน  2567

ในปี 2567 โครงการฯ ได้มอบหมายให้ทีมงานคณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำทีมโดย ดร.นรินธร จำวงษ์ รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยป่าไม้ ลงพื้นที่พร้อมกับชุมชนและกรมป่าไม้ สำรวจแปลงปลูกทั้ง 2 แปลง เพื่อรายงานผลลัพธ์การติดตามผลปลูกที่ใช้เทคโนโลยีการบินโดรนบนพื้นที่จริง

  

  

จากการสำรวจแปลงปลูก พบว่า อัตราการรอดตายของต้นไม้ 100% โดยมีการปลูกซ่อมแซมต้นไม้ที่ตายจากปัญหาภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำเนื่องจากฝนขาดระยะยาวนานต่อเนื่อง จากปรากฏการณ์เอลนิโญ  โดยปลูกซ่อมในช่วงต้นฝน (เดือนมิถุนายน-สิงหาคม) ที่ผ่านมา  ดังนั้นความสูงของต้นไม้จึงเฉลี่ยระหว่าง 70-77 เซนติเมตร ต้นไม้ที่เติบโตได้ดี ได้แก่ มะค่าโมง สัก หางนกยูง และมะค่าแต้

 

ติดตามผลปลูกแปลงที่ 2 ( 10 ไร่ ) ปลูกเมื่อปี 2566  ครั้งที่ 2  :  กันยายน  2567

จากการสำรวจผลปลูก พบว่าการเติบโตโดยรวมเฉลี่ยความสูงของต้นไม้เฉลี่ย 55 เซนติเมตร อัตราการรอดตายของต้นไม้ 100%  โดยมีปลูกซ่อมแซมต้นไม้ที่ตายในช่วงต้นฝนในเดือนมิถุนายน -สิงหาคม ที่ผ่านมา โดยพบว่าแปลงปลูกนี้ต้นไม้ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง อัตราการรอดตายประมาณ 70 %  ก่อนที่จะมีการปลูกซ่อมแซมในช่วงต้นฤดูฝนที่ผ่านมานี้

  

  

สำหรับภาพรวมการดูแลแปลงปลูกต้นไม้ทั้งแปลงที่ 1 และแปลงที่ 2  ชุมชนมีการดูเอาใจใส่ทั้ง การจัดหาแหล่งน้ำ ซึ่งในพื้นที่แปลงปลูกป่าบ้านหลังเขา  มีปัญหาน้ำแล้งมากในช่วงเดือน เมษายน-พฤษภาคมที่ผ่านมา จึงมีการขนน้ำขนาดถัง 2,000 ลิตร จำนวนครั้งละ 3 ถังขึ้นมาบนแปลงปลูก เพื่อใช้รดน้ำต้นไม้ และต่อมาได้เร่งจัดกานให้มีระบบบริหารจัดการน้ำ  โดยทำระบบน้ำหยดจากห้วยน้ำในพื้นที่ และมีการขุดบ่อบาดาลและทำบ่อพักน้ำ 3 ถัง เพื่อใช้กักเก็บน้ำ ใช้ระบบโซล่าเซลล์ให้น้ำเป็นระบบน้ำหยด ซึ่งในช่วงที่ผ่านมามีฝนตกค่อนข้างมากจึงสำรองน้ำไว้ได้  ทั้งนี้ ในช่วงฝนขาดระยะ ชุมชนผู้ดูแลจะใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่จัดทำเป็นระบบไว้ รดต้นไม้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2- 3 ครั้ง

 

สำหรับการบำรุงรักษาหลังปลูก ชุมชนมีการดูแลบำรุงรักษาต้นไม้สม่ำเสมอมีการพรวนดิน ใส่ปุ๋ยเป็นปุ๋ยขี้วัวและปุ๋ยเร่งรากในฤดูฝน มีการถางวัชพืชรอบโคนแล้วใส่ปุ๋ย ด้วยการใส่ปุ๋ยในน้ำแล้วฉีดพ่น

    

การกำจัดวัชพืชใช้แรงงานคนในการถางวัชพืชร่วมกับการใช้เครื่องตัดหญ้า โดยเป็นการกำจัดวัชพืชทั้งแปลง ในช่วงฤดูฝน 2 สัปดาห์/ครั้ง เนื่องจากมีวัชพืชขึ้นเยอะมาก เมื่อพ้นหน้าฝนแล้วจะดำเนินการเดือนละครั้ง

  

สำหรับการป้องกันไฟป่าและการลุกลามจากป่ารอบๆ แปลงปลูก มีการใช้รถไถดันทำแนวกันไฟรอบแปลงปลูก โดยใช้ถนนเป็นแนวกันไฟขนาด 5-6 เมตร แยกระหว่างแปลงที่ 1 และ 2 

    

การป้องกันสัตว์เลี้ยง และการป้องกันการบุกรุกพื้นที่เขตการปลูก  มีการประชาสัมพันธ์ในพื้นที่โดยผ่านสำนักสงฆ์ ชาวบ้านรอบๆ พื้นที่มีการรับรู้ มีการปักป้ายโครงการฯ ไว้อย่างชัดเจนพร้อมทั้งมีหมุดขอบเขต ถึงแม้พื้นที่โครงการฯ ติดกับเขตชุมชนแต่ชาวบ้านให้ความร่วมมืออย่างดีในการรักษากฎโดยไม่มีการตัดไม้ หรือการบุกรุกพื้นที่

  

 

 




(ผู้ที่สนใจในการร่วมสร้างผืนป่าร่วมกับโครงการ Care the Wild “ปลูกป้อง” สร้างป่าด้วยใจ เพื่อสร้างสมดุลในระบบนิเวศ
สามารถติดต่อได้ที่ 
 ของเว็บไซต์ SET Social Impact ร่วมเป็นสื่อกลางในการสร้างป่าเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี)

ผู้เข้าชม  1933