ป่าชุมชนบ้านเขาหัวคน

หมู่ 4 ต.น้ำพุ อ.เมือง จ.ราชบุรี​ 

 “ลดแล้ง สร้างระบบนิเวศ เพิ่มปอดให้ชุมชน”

จุดเด่น : ชุมชนมีความเข้มแข็งพร้อมพัฒนาผืนป่าให้เป็นพื้นที่สีเขียว เพื่อสร้างระบบนิเวศและลดภัยแล้ง และแหล่งอาหารชุมชน

พื้นที่ปลูกป่าจัดทำระบบน้ำลดความแล้ง และอัตราการตายของต้นไม้โดยใช้ระบบประปาภูเขา
 
 

พื้นที่ปลูก : 10 ไร่ จำนวน 2,300 ต้น
พันธุ์ไม้ที่ต้องการปลูก :
- ไม้ยืนต้น ได้แก่ พะยุง สัก แคนา มะค่าโมง หว้า มะขามป้อม ประดู่ สะเดา ขนุน มะขามเปรี้ยว ตะเคียนทอง

_________________________________________________________________________________________________

เนื้อที่ป่าชุมชน : 349-3-08 ไร่
ได้รับอนุมัติจากกรมป่าไม้ : ต่ออายุป่าชุมชน 11 กันยายน พ.ศ. 2562
ประเภทป่า : ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484
ระยะทางจากกรุงเทพ : 140 กิโลเมตร
ระยะเวลาเดินทางจากกรุงเทพ : 2 ชั่วโมง 30 นาที

---------------------------------------------------------------------------------------------

   | เริ่มปลูก : ตุลาคม 2563

   | พื้นที่ปลูก : 10 ไร่

   | ความสูงเฉลี่ย : 3.5 - 6 เมตร ขนาดเส้นรอบวงของลำต้นประมาณ 25-35 เซนติเมตร ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2567 

   | อัตราการรอดตายของต้นไม้ : 100% ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2567

---------------------------------------------------------------------------------------------

Update : การสนับสนุน การปลูก การดูแลและติดตามผลการเติบโต

---------------------------------------------------------------------------------------------

การสนับสนุนจากองค์กรภาคธุรกิจ 

  

ป่าชุมชนบ้านเขาหัวคน อ.เมือง จ.ราชบุรี เป็นพื้นที่แห่งที่ 1 ที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) พันธมิตรของโครงการ Care the Wild สนับสนุนงบประมาณจำนวน 4 แสนบาท เพื่อปลูกต้นไม้ในพื้นที่ 10 ไร่ ด้วยจำนวนต้นไม้ 2,000 ต้น โดยมีต้นไม้หลักทั้งไม้ป่าและไม้ผลกินได้ โดยกรมป่าไม้ ทำงานร่วมมือกับชุมชนเข้มแข็ง ภายใต้การนำของ ผู้ใหญ่สมบัติ เตียงเกตุ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4  ซึ่งเป็นประธานกรรมการป่าชุมชนบ้านเขาหัวคน โดยมีจำนวนครัวเรือนในชุมชน 144 ครัวเรือน ร่วมดูแลและรายงานการเติบโตของการปลูกป่าต่อเนื่อง 6 ปี นับตั้งแต่การปลูกในปี 2563 ที่ผ่านมา

 

การสำรวจพื้นที่ร่วมกัน

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2563 ทีมคณะทำงานโครงการ Care the Wild ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรมป่าไม้  และบมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา พร้อมด้วยผู้นำชุมชน ร่วมลงพื้นที่ประชุมหารือวางแผนการปลูกต้นไม้ในบริเวณป่าชุมชน เตรียมหน้าดิน และคัดเลือกพันธ์ุกล้าไม้ตามความต้องการของชุมชน สำหรับกิจกรรมปลูกต้นไม้ให้ได้ผืนป่า

   

พื้นที่บริเวณแปลงปลูกต้นไม้ พื้นที่ 10 ไร่ จากพื้นที่ป่าชุมชนที่ได้รับอนุมัติจากกรมป่าไม้ 349 ไร่ เป็นพื้นที่โล่งติดเชิงเขา

 

เตรียมหน้าดินสำหรับการปลูกทดแทน

   

 ระบบน้ำหยด ถูกออกแบบและวางท่อ ให้สามารถรดน้ำต้นไม้ได้ทุกต้น ในช่วงฤดูแล้งโดยใช้น้ำประปาภูเขา ซึ่งใช้ในสำหรับเกษตรกรรมของชุมชนด้วย

 

 

 

 

ทีมผู้บริหารคณะทำงานโครงการ Care the Wild ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรมป่าไม้ ผู้บริหารและคณะอาสากรุงศรีฯ กว่า 50 คน 
ร่วมทำกิจกรรมปลูกต้นไม้ให้ได้ผืนป่า ปลูกต้นไม้จำนวน 500 ต้น ในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านเขาหัวคน ร่วมกับผู้นำชุมชนและชาวบ้านเขาหัวคน

---------------------------------------------------------------------------------------------

การติดตามผลการปลูกครั้งที่ 1  #  30 เมษายน 2564

กระบวนการปลูกทดแทน

เนื่องด้วยพื้นที่บริเวณปลูกต้นไม้ของป่าชุมชนบ้านเขาหัวคน ค่อนข้างมีปัญหาความแห้งแล้งต่อเนื่อง จากภาวะฝนขาดช่วง เป็นระยะเวลานาน เป็นผลให้มีต้นไม้บางส่วนเสียหาย ทีมงานกรมป่าไม้ โดยศูนย์ส่งเสริมวนศาสตร์ชุมชนที่ 7 (จ.ราชบุรี) ร่วมกับชุมชนบ้านเขาหัวคน เตรียมวางแผนการปลูกทดแทน และดำเนินการปลูกทดแทนต้นไม้ที่ตายจากสาเหตุความแล้งกว่า 1,200 ต้น ได้สำเร็จลุล่วงเป็นไปตามแผนการปลูกแบบ Insentive เมื่อปลายเดือนเมษายน 2564 ที่ผ่านมา

 

  

กำจัดวัชพืชบริเวณพื้นที่แปลงปลูก

 

ขุดหน้าดินเส้นแนวหลักสะเต็กไม้ไผ่ เพื่อวางระบบท่อน้ำหยด ให้ต้นไม้ทุกต้นได้น้ำอย่างเพียงพอ ลดอัตราการตายจากปัญหาแล้ง

ช่วยให้มีน้ำรดต้นไม้ตลอดปี เพิ่มอัตราการรอดตายของต้นไม้

  

ชุมชนบ้านเขาหัวคนร่วมปลูกต้นไม้ทดแทน ชนิดพรรณไม้ที่ปลูกทดแทน เช่น พะยูง สัก แคนา มะค่าโมง หว้า

มะขามป้อม ประดู่ สะเดา ขนุน มะขามเปรี้ยว ตะเคียนทอง พร้อมทั้งวางระบบท่อน้ำหยดเพิ่มเพื่อให้รองรับกับจำนวนต้นไม้ที่ปลูกทดแทน

 

---------------------------------------------------------------------------------------------

 

ผลสำเร็จการปลูกป่าจำนวน 10 ไร่ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2563

ชุมชนบ้านเขาหัวคน บำรุงดูแลรักษาต้นไม้ เพื่อให้ต้นไม้มีอัตราการรอดตายสูงสุด และดูแลต่อเนื่องเป็นเวลา 6 ปี และมีการปลูกซ่อมเสริมกรณีต้นไม้ตาย โดยมีเป้าหมายต้นไม้ที่ปลูกมีอัตราการรอด 100%

 

ผลลัพธ์ต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม

จากการสนับสนุนของภาคธุรกิจ ในการระดมทุนเพื่อปลูกต้นไม้ในป่าชุมชนบ้านเขาหัวคน ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุม 349-3-08 ไร่ สร้างผลสำเร็จการปลูกป่าจำนวน 10 ไร่ ด้วยต้นไม้กว่า 2,000 ต้น ช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ 18,000 กิโลกรัมคาร์บอนไดซ์ออกไซต์เทียบเท่า สร้างประโยชน์ให้กับชุมชนบ้านเขาหัวคน หมู่ 4 ซึ่งมีสมาชิก 144 ครัวเรือน และหมู่ 1 ,  3 , 6  รวมประมาณ 600 ครัวเรือน ครอบคลุมประโยชน์จากป่าโดยเก็บของป่า หารายได้จากป่า เช่นเก็บพืช เก็บเห็ด หน่อไม้ และสมุนไพรเป็นหลัก

 

การติดตามผลการปลูกครั้งที่ 2  #  30 ตุลาคม 2564 

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ที่ผ่านมา ทางสมาชิกชุมชนได้ลงพื้นที่เพื่อติตตามและรายงานผลการเติบโตของต้นไม้ที่ได้มีการปลูกและปลูกทดแทน เนื่องจากภาวะการปลูกนอกฤดูทำให้มีต้นไม้เสียหายจากการขาดน้ำ ผลการติดตามในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากต้นไม้มีอัตราการรอดตายสูงขึ้นกว่า 85% และมีความสูงเฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึง 80 - 120 เซนติเมตร 

 

 

 

---------------------------------------------------------------------------------------------

การติดตามผลการปลูกครั้งที่ 3  #  2 มีนาคม 2565

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 ทีมคณะทำงานจากโครงการ Care the Wild ลงพื้นที่ร่วมกับคณะกรรมการป่าชุมชนบ้านเขาหัวคน อ.เมือง จ.ราชบุรี และเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ เพื่อสำรวจการเจริญเติบโตของต้นไม้ ที่ปลูกร่วมกับทางธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2563 (จำนวน 10 ไร่) ซึ่งเป็นระยะเวลา 1 ปี 4 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลงพื้นที่ปลูก

สภาพโดยรวมป่ามีความอุดมสมบูรณ์ ต้นไม้ที่ปลูกมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและได้รับน้ำหล่อเลี้ยงอย่างเหมาะสมจากการวางระบบน้ำที่ทางชุมชนได้ร่วมกันออกแบบ

 

        

   

      

---------------------------------------------------------------------------------------------

การติดตามผลการปลูกครั้งที่ 4  #  22 เมษายน 2566

เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2566 คณะทำงานจากโครงการ Care the Wild บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ประธานคณะกรรมการป่าชุมชนบ้านเขาหัวคน และทีมงานกรมป่าไม้จากศูนย์ส่งเสริมวนศาสตร์ชุมชนที่ 7 (ราชบุรี) ลงพื้นที่แปลงปลูก เพื่อติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้ที่ปลูกเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2563 (จำนวน 10 ไร่) ซึ่งเป็นระยะเวลา 2 ปี 4 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลงพื้นที่ปลูก

ผลการติดตามในครั้งนี้พบว่า จากสถานการณ์ฝนขาดช่วงเป็นเวลานานต่อเนื่องกว่า 6 เดือน ได้ส่งผลให้ต้นไม้บางส่วนมีอัตราการตายประมาณ 20 % และอัตราการเติบโตโดยรวมของต้นไม้จะสูงประมาณ 2 เมตร แต่วงรอบไม่ใหญ่นักเนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของน้ำค่อนข้างน้อย พืชเติบโตดี ได้แก่ พะยูง สัก สะเดา สำหรับต้นไม้ที่ตายนั้น ชุมชนพิจารณาแนวทางเลือกต้นไม้ที่ทนแล้ง เพื่อปลูกทดแทนให้ได้ผลดี และจะใช้กล้าไม้ที่เติบโตเทียบกับต้นไม้เดิมมาทดแทน เช่น หว้า ประดู่ป่า ซึ่งจะมีการปลูกทดแทนเพื่อให้อัตรารอดครบ 100 % ตามเงื่อนไขของโครงการฯ ทั้งนี้ ชุมชนยังคงใช้ประโยชน์จากระบบน้ำที่วางแผนไว้จากการใช้น้ำประปาเกษตรของชุมชน โดยเปิดน้ำผ่านท่อน้ำหยดไปยังโคนต้นไม้ สัปดาห์ละครั้ง  และใช้หญ้าแห้งวัชพืชปกคลุม เพื่อกักเก็บความชื้นควบคู่กันไป

 

    

คณะทำงานโครงการ Care the Wild บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ประธานคณะกรรมการป่าชุมชนบ้านเขาหัวคน และทีมงานกรมป่าไม้ ลงพื้นที่แปลงปลูก เพื่อติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้

    

อัตราการเติบโตโดยรวมของต้นไม้สูงประมาณ 2 เมตร แต่วงรอบไม่ใหญ่นัก เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของน้ำค่อนข้างน้อย และสถานการณ์ฝนขาดช่วง

    

ชุมชนใช้ประโยชน์จากระบบน้ำประปาเกษตรที่วางแผนไว้ โดยเปิดน้ำผ่านท่อน้ำหยดไปยังโคนต้นไม้ และใช้หญ้าแห้งวัชพืชปกคลุม เพื่อกักเก็บความชื้น

---------------------------------------------------------------------------------------------
 

การติดตามผลปลูกครั้งที่ 5 # 30 กันยายน 2566

ทีมชุมชนและกรมป่าไม้ได้ลงพื้นที่ติดตามผลปลูกของป่าชุมชนบ้านเขาหัวคน เพื่อติดตามผลการเติบโตของต้นไม้ พบว่า ชุมชนมีการปลูกต้นไม้ซ่อมแซมสำหรับต้นไม้ที่ตายไปจากภัยแล้งในช่วงเดือนเมษายนและส่งผลให้ต้นไม้บางส่วนมีอัตราการตายประมาณ 20 %  ดังนั้นสัดส่วนต้นไม้ที่รอดตายจึงเท่ากับ 100 %  เฉลี่ยความสูงของต้นไม้ประมาณ 3.5 – 5 เมตร ในขณะที่ความโตของขนาดลำต้นประมาณ 5-10 เซ็นติเมตร  ประเภทต้นไม้ที่เติบโตดี ได้แก่ สัก พะยูง มะค่าโมง มะขามป้อม หว้า และทองอุไร

ในขณะที่ชุมชนใส่ใจเข้ามาดูแลบำรุงต้นไม้อย่างต่อเนื่อง ใส่ปุ๋ย พรวนดิน  มีการกำจัดวัชพืช เดือนละ 2 ครั้ง และเปิดน้ำประปาเพื่อการเกษตรของหมู่บ้านไปยังระบบน้ำหยดสัปดาห์ละ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย

การติดตามผลปลูกครั้งที่ 6 # ตุลาคม 2567

ทีมงาน care the wild ชุมชน และกรมป่าไม้ ได้ลงพื้นที่ติดตามผลปลูกของป่าชุมชนบ้านเขาหัวคนต่อนื่อง เพื่อติดตามผลการเติบโตของต้นไม้ พบว่า ต้นไม้ในแปลงปลูกมีอัตราการเติบโตดีมากจนพื้นที่เป็นป่าเชื่อมไปกับป่าบริเวณเขาหัวคน  สัดส่วนต้นไม้ที่รอดตาย 100 %  เนื่องด้วยพื้นที่นี้มีการปลูกต้นไม้มากกว่า 2,300 ต้น เพิ่มจากยอดที่กำหนดไว้ไร่ละ 200 ต้น  เฉลี่ยความสูงของต้นไม้ประมาณ 3.6 – 6 เมตร ในขณะที่ความโตของขนาดลำต้นประมาณ 25-35 เซ็นติเมตร ประเภทต้นไม้ที่เติบโตดี ได้แก่ สัก พะยูง มะค่าโมง มะขามป้อม หว้า และทองอุไร

         

ในขณะที่ชุมชนใส่ใจเข้ามาดูแลบำรุงต้นไม้อย่างต่อเนื่อง ใส่ปุ๋ย พรวนดิน  มีการกำจัดวัชพืช เดือนละ   2 ครั้ง และเปิดน้ำประปาเพื่อการเกษตรของหมู่บ้านไปยังระบบน้ำหยดสัปดาห์ละ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย ส่งผลให้อัตราการเติบโตต้นไม้เป็นไปอย่างดี เป็นป่าที่สมบุรณ์ และชุมชนสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์เป็นแหล่งอาหาร เช่น เห็ด หน่อไม้ เป็นต้น 

    

    

 


 

(ผู้ที่สนใจในการร่วมสร้างผืนป่าร่วมกับโครงการ Care the Wild “ปลูกป้อง” สร้างป่าด้วยใจ เพื่อสร้างสมดุลในระบบนิเวศ สามารถติดต่อได้ที่  ของเว็บไซต์ SET Social Impact ร่วมเป็นสื่อกลางในการสร้างป่าเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี)

 

ผู้เข้าชม  1955