บทบาทผู้หญิง สิ่งแวดล้อม และผลกระทบจากวิกฤตสภาพอากาศ


 บทบาทผู้หญิง สิ่งแวดล้อม และผลกระทบจากวิกฤตสภาพอากาศ

 

ประเด็นด้านเพศภาวะกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้ถูกเพิ่มเข้าไปเป็นวาระว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในองค์กรระดับนานาชาติเรื่อยมา โดยความพยายามในการผลักดันประเด็นนี้สำเร็จและปรากฏผลครั้งแรกเป็นรูปธรรมในการประชุม COP ครั้งที่ 13 ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย โดยได้ระบุถึงความไม่เท่าเทียมของบทบาทเพศหญิงในบางประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมากกว่าเพศชาย เนื่องด้วยบทบาทด้านครัวเรือน จึงมีความเกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรมากกว่า เช่น น้ำ ฟืน ทรัพยากรธรรมชาติจากป่า โดยในเวทีระดับโลก หลายประเทศรวมถึงประเทศไทยได้ร่วมรับรอง "ปฏิญญาปักกิ่งและแผนปฏิบัติการเพื่อความก้าวหน้าของสตรี" ในปี 2538 ที่มีเป้าหมายให้สตรีมีส่วมร่วมและได้รับประโยชน์จากกิจกรรมในสังคมออย่างเท่าเทียม  

 

 

บรรยากาศการประชุม COP26 ครั้งนี้ มีการเดินขบวนของกลุ่มสตรีนิยมเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมด้านสภาพอากาศ เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาค COVID-19 ที่ผ่านมาทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนนั้นยากจนและไม่มั่นคงกว่าเดิม การเดินขบวนนี้เรียกร้องคำมั่นการออกนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนกับระบบนิเวศที่เพศหญิงสมควรได้รับการปกป้องเพราะพวกเธอเป็นแนวหน้าในการรับความเสี่ยงนี้ เช่น ชาวพื้นเมือง ผู้นำแอฟริกา คนที่มีฐานะยากจน ผู้พิการ ฯลฯ

 

 

ในประเทศไทยเองมีการตั้งข้อสังเกตว่ากลุ่มสตรีมักมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวทางสังคมด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เช่น ขบวนการป่าชุมชน การต่อต้านเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ โครงการโรงไฟฟ้าพลังถ่านหิน ในแง่ขององค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมเองมีการริเริ่มการจัดตั้งเครือข่ายสตรีชนเผ่าพื้นเมือง เครือข่ายสตรีประมงพื้นบ้าน เครืองข่ายสตรีป่าไม้ที่ดิน

 

 

อาจเป็นเพราะ “บ้าน” ถูกสังคมกำหนดให้เป็นพื้นที่ของสตรี ทำให้พวกเธอรู้สึกผูกพันกับพื้นที่อย่างใกล้ชิด ซึ่งหมายถึงการดูแลครอบครัวเพื่อจัดหาทรัพยากรสำหรับบริโภค ดูแลจัดการเรื่องภายในครัวเรือน และบทบาทในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ดังนั้น การเคลื่อนไหวด้านสิงแวดล้อมจึงเป็นสิ่งที่พวกเธอมีบทบาทมากและมองว่าเป็นสิ่งที่กระทบกับชีวิตของพวกเธอโดยตรง
 

 

ทั้งนี้ แม้ว่าเพศหญิงจะมีบทบาทในการเคลื่อนไหวต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก แต่จะพบได้ว่าการเคลื่อนไหวเหล่านี้มักไม่ถูกรวมตัวกันเป็นเครือข่ายเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับการเคลื่อนไหวของผู้หญิงเท่าที่ควร ดังนั้น ปัญหาผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่มีต่อเพศหญิงนั้นเป็นประเด็นที่ควรช่วยกันสนับสนุนและผลักดันให้พวกเธอได้รับความเป็นธรรม และมีองค์ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปใช้ในการปกป้องพื้นที่ของตนเองซึ่งจะนำไปสู่ไปสู่การจัดการทรัพยากรยั่งยืน หรือแนวทางปฏิบัติในระดับครัวเรือนและท้องถิ่นได้มากขึ้น
___

#Cop26
#SETSocialImpact
#ClimateCrisisActNow

 

ที่มา :
https://unfccc.int/gender

https://gsdrc.org/topic-guides/gender/gender-and-climate-change/#impacts

https://www.globalcitizen.org/en/content/how-climate-change-affects-wom

https://www.britannica.com/topic/ecofeminism/Ecofeminisms-future

en/

https://library.fes.de/pdf-files/bueros/thailand/14387-20180517.pdf


 

ผู้เข้าชม  3205