ป่าชุมชนบ้านชัฎหนองยาว

หมู่ 2 ต.ห้อยขมิ้น อ.ด้านช้าง จ.สุพรรณบุรี​ 

 “เพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดแล้งพื้นที่เขตเงาฝน”

จุดเด่น : ชุมชนมีความเข้มแข็งทุ่มเทเพื่อพัฒนาผืนป่า สร้างระบบนิเวศป่าไม้ พัฒนาเขตชุมชนให้เป็นพื้นที่สีเขียวเพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้คืนสู่ชุมชน

 

พื้นที่ปลูก : 10 ไร่ (2 แปลง) จำนวน 2,000 ต้น
พันธุ์ไม้ที่ต้องการปลูก :

แปลงที่ 1 กระบก ขี้เหล็กบ้าน น้อยหน่า ประดู่ป่า พฤกษ์ พะยอม พะยูง มะขวิด มะขาม มะขามป้อม มะตูม มะม่วง มะฮอกกานี สะเดา
แปลงที่ 2 กระถินณรงค์ กัลปพฤกษ์ ขี้เหล็กบ้าน ประดู่ป่า พฤกษ์ พะยอม พะยูง สัก มะกอก มะขาม มะค่าแต้ มะค่าโมง มะม่วงหิมพานต์ มะฮอกกานี ยางนา สะเดา

_________________________________________________________________________________________________

เนื้อที่ป่าชุมชน : 1,576 ไร่
ได้รับอนุมัติจากกรมป่าไม้ : ตาม พ.ร.บ. ป่าชุมชน พ.ศ. 2562
ระยะทางจากกรุงเทพ : 140 กิโลเมตร
ระยะเวลาเดินทางจากกรุงเทพ : 2 ชั่วโมง 30 นาที

---------------------------------------------------------------------------------------------

   | เริ่มปลูก : กันยายน 2562

   | พื้นที่ปลูก : 10 ไร่

   | ความสูงเฉลี่ย  : เฉลี่ย 4 - 7 เมตร เส้นรอบวง 15 - 16 เซนติเมตร ข้อมูล ณ เดือน กันยายน 2566

   | อัตราการรอดตายของต้นไม้ : 95% ** ( เนื่องจากมีต้นไม้จำนวนหนึ่งเติบโตไม่ทันกับต้นไม้ส่วนใหญ่ จึงไม่ได้ปลูกทดแทนเพราะอาจทำให้ต้นไม้ปลูกใหม่ไม่รอด เนื่องจากมีต้นไม้ทึบและเบียดบังพื้นที่ปลูกสำหรับต้นใหม่ ) ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2566

   | ต้นไม้ที่เติบโตได้ดี ได้แก่ สะเดา พฤกษ์ พะยูง ขี้เหล็ก ประดู่ป่า 

---------------------------------------------------------------------------------------------

พื้นที่ต้นแบบโครงการ Care the Wild 2562

การสร้างป่า จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายประการและระยะเวลา ดั้งนั้น พื้นที่เป้าหมาย จะเป็นพื้นที่ที่สามารถสร้างป่าได้จริง
มีผู้ดูแลต้นไม้   การจัดการเรื่องแหล่งน้ำ เริ่มพื้นที่นำร่องร่วมกับกรมป่าไม้ ที่ได้มีการดำเนินการไปแล้วคือ พื้นที่จำนวน 10 ไร่
บ้านชัฎหนองยาว ต.ห้วยขมิ้น อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี เมื่อเดือนกันยายน 2562  

 

 

---------------------------------------------------------------------------------------------

พิธีเปิดโครงการ “สร้างป่าด้วยใจ” Care the Wild   

เมื่อวันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2562 

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD)  และบริษัท สำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด   ชมรมคัสโตเดียน และชมรมปฎิบัติการหลักทรัพย์สนับสนุนงบประมาณ ในการสร้างป่าจำนวน 10 ไร่
ดำเนินการโดยกรมป่าไม้ ป่าไม้จังหวัดสุพรรณบุรี  และภาคชุมชน องค์การบริหารสวนตำบลห้วยขมิ้น อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี
 

    

 

---------------------------------------------------------------------------------------------

 

พื้นที่ก่อนปลูกป่า

พื้นที่ป่าหลังการปลูก 

 

---------------------------------------------------------------------------------------------

ติดตามการเติบโตของต้นไม้ 24 มีนาคม 2563 

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรมป่าไม้ และชาวบ้านบ้านชัฎหนองยาว ลงพื้นที่ติดตามการเติบโตของต้นไม้ที่ได้ดำเนินการปลูกไปเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2562 พบว่าต้นไม้ 96 เปอร์เซ็นต์ เติบโตแข็งแรง มีความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 150 เซนติเมตร เป็นผลมาจากการติดตั้งระบบน้ำหยดจึงทำให้ต้นไม้สามารถเติบโตได้ดีในช่วงฤดูแล้ง และเป็นผลมาจาการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านที่ช่วยกันดูแลอย่างเต็มกำลัง 

  

 


 

ติดตามการเติบโตของต้นไม้ 23 กันยายน 2563

ครบ 1 ปี ที่ได้มีการทำกิจกรรมการปลูกป่าในพื้นที่ต้นแบบโครงการ Care the Wild ทีมงานกรมป่าไม้ และชุมชนบ้านชัฎหนองยาวจึงร่วมกันลงพื้นที่เพื่อติดตามผลการปลูกต้นไม้จำนวนกว่า 2,000 ต้น บนพื้นที่ 10 ไร่ พบว่าต้นไม้มีอัตราการรอดตายสูงถึง 98 เปอร์เซ็๋น และมีความสูงเพิ่มขึ้นจากครั้งติดตามผลวันที่ 24 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมาเฉลี่ย 170-180 เซนติเมตร ซึ่งเป็นผลมาจากการวางระบบน้ำตามหลักวิชาการป่าไม้ จึงทำให้ต้นไม้ที่ปลูกมีการเจริญเติบโตได้ดีในช่วงฤดูขาดฝน และการดูแลของชุมชนเข้มแข็งที่พร้อมดูแลต้นไม้ เพื่อให้ต้นไม้กลายเป็นพื้นป่าที่อุดมสมบูรณ์อีกครั้ง

  

 


 

ติดตามการเติบโตของต้นไม้ 6 พฤศจิกายน 2563

ทีมงานกรมป่าไม้ และชุมชนบ้านชัฎหนองยาวร่วมกันลงพื้นที่เพื่อติดตามผลการปลูกต้นไม้จำนวนกว่า 2,000 ต้น บนพื้นที่ 10 ไร่ และได้ทำการตรวจวัดการเจริญเติบโตของต้นไม้ในแปลงปลูก พบว่าต้นไม้มีอัตราการรอดตาย 100 เปอร์เซ็น และมีความสูงเพิ่มขึ้นจากครั้งติดตามผลครั้งที่ผ่านมาเฉลี่ย 170-190 เซนติเมตร 

 

 

 


 

ติดตามการเติบโตของต้นไม้ เมษายน 2564

ตลาดหลักทรัพย์ฯ  กรมป่าไม้ ลงพื้นที่พบปะชุมชน และติดตามผลการปลูกป่า เมษายน 2564

ตลาดหลักทรัพย์ฯ กรมป่าไม้ลงพื้นที่พบปะชุมชน และติดตามผลการปลูกป่า การวางแผนดูแล และปลูกซ่อมแซมหากต้นไม้เกิดการสูญเสียและไม่เจริญเติบโตอย่างเหมาะสม ภาพรวมต้นไม้รอด กว่า 95% และความสูงเพิ่มขึ้นประมาณ 2-3 เมตร (บางประเภท) และเฉลี่ยทั้งหมดประมาณ 1.40 เมตร และการดูแลเรื่องระบบน้ำ การกำจัดวัชพืช และการป้องกันไฟป่าได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากชุมขน

 

 

 


 

ติดตามพื้นที่ป่าชุมชนบ้านชัฏหนองยาว อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี

โครงการ Care the Wild “ปลูกป้อง” Plant &Protect แพลตฟอร์มระดมทุนเพื่อปลูกต้นไม้ในพื้นที่ป่าชุมชน ต้นทางการสร้างภาวะสมดุลให้ระบบนิเวศด้วยพื้นที่สีเขียว และแหล่งอาหารธรรมชาติของชุมชนที่ร่วมดูแลผืนป่าอย่างยั่งยืน 

เกือบ 2 ปี นับจากวันเริ่มปลูก 7 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา บนพื้นที่แปลงปลูกต้นแบบ “ป่าชุมชนบ้านชัฎหนองยาว” อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ต้นไม้ทั้ง 2,000 ต้น ในพื้นที่ 10 ไร่ รอดตายกว่า 95 % มีอัตราการเจริญเติบโต วัดจากความสูงเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยทั้งแปลง 1.40 เมตร และสูงกว่า 2-3 เมตร ในต้นไม้บางประเภท ด้วยความร่วมมือของชุมชนในพื้นที่ ร่วมดูแลรักษาป่าอย่างเข้มแข็ง และจะดูแลต่อเนื่องตลอด 6 ปี ตามเป้าหมายของโครงการฯ ที่มุ่งปลูกต้นไม้ให้ได้ป่าอย่างแท้จริง  

 


 

ติดตามการเติบโตของต้นไม้ 15 ธันวาคม 2565

ทีมงานโครงการ Care the Wild  ร่วมกับทีมงานกรมป่าไม้และชุมชน ลงพื้นที่ติดตามผลการปลูกป่าจำนวน 10 ไร่  ต้นไม้ 2,000 ต้น

ณ ป่าชุมชนบ้านชัฎหนองยาว อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 นับเป็นแปลงปลูกแรกของโครงการ ฯ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา ด้วยการสนับสนุนจาก องค์กรภาคตลาดทุน ประกอบด้วย ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์  สำนักหักบัญชี ชมรม Custodian ชมรมปฏิบัติการหลักทรัพย์ และสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย สนับสนุนงบประมาณ รวม 400,000 บาท นับเป็นพื้นที่ต้นแบบของโครงการฯ ด้วยพื้นที่ปลูกนี้แห้งแล้งมาก (อยู่ในพื้นที่เงาฝน) ดินคุณภาพไม่ดีจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมานานก่อนทวงคืนเป็นป่าชุมชน ในอดีตชุมชนพยามปลูกต้นไม้หลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ จาก  Concept โครงการ ทำให้ชุมชนมีงบประมาณดูแลจัดการรวมถึงคณะกรรมการป่าชุมชน และชาวบ้านร่วมกันวางแผนระบบน้ำ ติดตั้งท่อน้ำหยดตลอดพื้นที่การปลูกทำให้ต้นไม้รอดตายและเติบโต เป็นต้นแบบการดูแลที่มีประสิทธิภาพ

 

โดยนับจากวันเริ่มปลูก 7 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา เป็นระยะเวลา 3 ปี  ต้นไม้ทั้ง 2,000, ต้น ในพื้นที่ 10 ไร่ รอดตายกว่า 95 % มีอัตราการเจริญเติบโต วัดจากความสูงเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยทั้งแปลงกว่า 4 เมตร และ ในต้นไม้บางประเภท สูงกว่า 6.5 เมตร และวงรอบเติบโตประมาณ 15 cm. ด้วยความร่วมมือของชุมชนในพื้นที่ ร่วมดูแลรักษาป่าอย่างเข้มแข็ง โดยตลอด 3 ปีไม่เคยเกิดไฟป่า ทั้งนี้ ชุมชนจะดูแลต่อเนื่องตลอด 6 ปี ตามเป้าหมายของโครงการฯ ที่มุ่งปลูกต้นไม้ให้ได้ป่าอย่างแท้จริง

    


การเติบโตของต้นไม้  :  6 มิถุนายน 2566

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2566  ผู้นำชุมชนและกรมป่าไม้  พร้อมทีมงานโครงการฯและทีมงานของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ Gistda ได้ลงพื้นที่ป่าชุมชน เพื่อตรวจสอบพื้นที่และหาแนวทางการทำงานเพื่อการติดตามผลปลูกด้วยเทคโนโลยีเพื่อการสำรวจ เช่น โดรน หรือดาวเทียม ให้ได้ผลของการเติบโตที่แม่นยำ และตอบโจทย์ทดแทนการติดตามผลด้วยบุคลากรของโครงการฯ ซึ่งอาจมีข้อจำกัดเมื่อขนาดต้นไม้สูงมากจนเป็นป่าทึบหนาแน่นได้ โดยแปลงปลูกแห่งนี้จะเป็นต้นแบบการทำงานที่ใช้เทคโนโลยีในการติดตามผลปลูกต่อไป 

SUCCESS CASE ของโครงการฯ

จากความร่วมมือของชุมชนในพื้นที่ ร่วมใจช่วยกันดูแลรักษาป่าอย่างเข้มแข็ง ส่งผลให้ป่าชุมชนบ้านชัฎหนองยาว มีการเปลี่ยนแปลงและความสำเร็จของการดูแลป่าชุมชนอย่างยั่งยืน

  

   

สำหรับป่าชุมชนบ้านชัฎหนองยาว เดิมเป็นพื้นที่ถูกบุกรุก ก่อนทวงคืนกลับมาเป็นป่าชุมชน ความท้าทายที่พบ คือ พื้นที่ปลูกมีความแห้งแล้งมาก (อยู่ในพื้นที่เงาฝน) และผลจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นเวลานาน ทำให้คุณภาพดินไม่ดี กระทั่งได้เข้าร่วมเป็นพื้นที่ต้นแบบในโครงการ Care the Wild

ซึ่งบัดนี้ต้นไม้ทั้ง 2,000 ต้นที่ปลูกในพื้นที่ 10 ไร่ ได้เติบโตและรอดตายมากกว่า 95 % ** โดยต้นไม้ส่วนใหญ่เติบโตมีความสูงเฉลี่ย 4 ถึง 7 เมตร รวมถึงมีเส้นรอบวง 15-16 Cm  ต้นไม้ที่เติบโตดี ได้แก่ สะเดา พฤกษ์ พะยูง ขี้เหล็ก ประดู่ป่า ด้วยความร่วมมือของชุมชนในพื้นที่ ร่วมดูแลรักษาป่าอย่างเข้มแข็งโดยตลอด 3 ปีไม่เคยเกิดไฟป่า ทั้งนี้ ชุมชนจะดูแลต่อเนื่องตลอด   6 ปี ตามเป้าหมายของโครงการฯ ที่มุ่งปลูกต้นไม้ให้ได้ป่าอย่างแท้จริง

** เนื่องจากมีต้นไม้จำนวนหนึ่งเติบโตไม่ทันกับต้นไม้ส่วนใหญ่ จึงไม่ได้ปลูกทดแทนเพราะอาจทำให้ต้นไม้ปลูกใหม่ไม่รอด เนื่องจากมีต้นไม้ทีบและเบียดบังพื้นที่ปลูกสำหรับต้นใหม่)  

ปี 2566 :  การรับรองผลการประเมินปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก ภายใต้โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme: LESS)  ครั้งที่ 1

โครงการ Care the Wild และพันธมิตร กรมป่าไม้ ได้ดำเนินการยื่นขอการรับรองผลการประเมินปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก ภายใต้โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme: LESS) ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) เพื่อรับมอบใบประกำศเกียรติคุณ LESS เชิดชูองค์กรที่ลดก๊าซเรือนกระจก (ครั้งที่ 1) ในปริมาณ 18,857 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยมอบแก่ ภาคีหน่วยงานในภาคตลาดทุนประกอบด้วย บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท สำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด ชมรมคัสโตเดียน และชมรมปฏิบัติการหลักทรัพย์ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย  ซึ่งสนับสนุนงบประมาณ รวม 400,000 บาท  เพื่อปลูกต้นไม้บนพื้นที่แปลงปลูกต้นแบบ “ป่าชุมชนบ้านชัฎหนองยาว” อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี จำนวน 2,000, ต้น ในพื้นที่ 10 ไร่ เมื่อวันที่  7 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา

 

แนวร่วมนักลด ลด-เพื่อ-โลก พลังแห่งความร่วมมือ จากพื้นที่แห้งแล้ง สร้างป่าสมบูรณ์ให้ชุมชนบ้านชัฏหนองยาว ช่วยลดโลกร้อน

เมื่อวันที่  7 กันยายน 2562 ที่ผ่านมาด้วยพลังความร่วมมือจากชุมชนบ้านชัฏหนองยาว ที่เอาใจใส่ดูแลต้นไม้ให้เติบโต มีกระบวนการดูแลติดตามอย่างเข้มแข็ง สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดการเพิ่มพื้นที่สีเขียวอย่างเป็นรูปธรรม  โดยป่าชุมชนแห่งนี้มีต้นไม้เติบโตเข้าเกณฑ์การประเมินการกักเก็บคาร์บอนด์ จากโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (โครงการ LESS)  ของ อบก. หน่วยงานผู้สนับสนุนได้รับมอบใบประกาศเกียรติคุณ LESS ในงาน Climate Care Forum 2023 : Time to Reduce “ลด-เพื่อ-โลก จัดโดยตลาดหลักทรัพย์ฯ แห่งประเทศไทย 20 ตุลาคม 2566

ผู้เข้าชม  1506