หาทางไปต่อให้แผงยา : แผงยาก็รีไซเคิลได้

 

     ในแต่ละปีมีผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลจำนวนหลายสิบล้านคนมีการใช้จ่ายค่ายาปีละหลายพันล้านบาท ด้วยตัวเลขมากมายขนาดนั้น ลองจินตนาการดูแล้วกันว่าจะเป็นยาจำนวนมากมายขนาดไหน แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ แผงยาอะลูมิเนียมที่ใช้หมดแล้วนั้นส่วนใหญ่ถูกทิ้งให้เป็นขยะ ไม่มีการนำกลับมารีไซเคิล

 

     ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้กันก่อนแผงยาอะลูมิเนียมเป็นพลาสติกหลายชั้น (Multi-Layer Plastic: MLP) ประเภทหนึ่ง ประกอบขึ้นจากอะลูมิเนียมและพลาสติก จึง รีไซเคิลได้ยาก เพราะต้องใช้กระบวนการรีไซเคิลที่ต่างกัน มีกรรมวิธีที่ยุ่งยาก ซับซ้อน และใช้ต้นทุนสูงกว่าการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุประเภทเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้แผงยาที่ใช้แล้วจึงไม่ถูกนำไปรีไซเคิล อย่างดีก็มีปลายทางอยู่ที่บ่อฝังกลบขยะ หรือไม่ก็ถูกนำไปแปรรูปเป็นเชื้อเพลิง RDF

แต่ปัจจุบันมีการคิดค้นนวัตกรรม “เครื่องไพโรไลซิส”ที่สามารถแยกอะลูมิเนียมและพลาสติกที่อยู่ในแผงยา เพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ได้อีกครั้ง อะลูมิเนียมที่แยกได้สามารถนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม หรือนำไปทำเป็นขาเทียมบริจาคให้กับผู้พิการ ส่วนพลาสติกจะถูกหลอมละลายกลายสภาพเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง นำไปใช้ได้ดีกับเครื่องยนต์ทางการเกษตร นับว่าเป็นการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

    เพียงเท่านี้คุณเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาขยะล้นเมืองและทำให้โลกใบนี้น่าอยู่ขึ้น

____
ร่วมกำจัดขยะให้หายไป หาทางใช้ให้ถึงที่สุด 
รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://climatecare.setsocialimpact.com
#CaretheWhale #ขยะล่องหน
 

Reference

https://www.cppc.co.th/blister-packaging-what-are-the-types/

https://www.pharmacycle.com.au/blog-posts/5-easy-steps-to-recycle-blister-packs-today

https://www.quora.com/What-is-blister-packaging-What-are-the-materials-used-for-blister-packaging-and-can-they-be-recycled

 

ผู้เข้าชม  2048