Climate care เรื่องโลกร้อนที่ต้องรู้และแคร์ : ทำไมปี 2024 จึงร้อนนัก ?

 

 

 

Climate care เรื่องโลกร้อนที่ต้องรู้และแคร์ "ทำไมปี 2024 จึงร้อนนัก ?"

     ทุกคนคงสัมผัสได้ว่าหลายปีมานี้โลกร้อนขึ้น ร้อนขึ้น และร้อนขึ้นเรื่อย ๆ แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ใช่แล้ว !!! เราไม่ได้รู้สึกกันไปเอง งานวิจัยหลายชิ้นยืนยันตรงกันว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้นแบบฉุดไม่อยู่จริง ๆ แถมยังทำสถิติใหม่แทบทุกปี เช่นเดียวกับในปีนี้ที่คาดกันว่า จะเป็นปีที่ร้อนระอุที่สุดเท่าที่เคยมีมา

     หลายพื้นที่ในอเมริกา ยุโรป และเอเชีย ต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนที่แผดเผาแบบหนักหนาสาหัสเป็นประวัติการณ์ มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่เสียชีวิตจากอาการ Heat Stroke อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพ แต่ยังทำให้เกิด “ภาวะโลกรวน” ที่ส่งผลให้ผืนดิน ผืนน้ำ มหาสมุทร และสภาพภูมิอากาศโลกแปรปรวน รวมถึงยังทำให้กลไกหลายอย่างที่มีอยู่บนโลกใบนี้มาหลายล้านปีเกิดการเปลี่ยนแปลง สาเหตุหลักมาจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

     

 

      ข้อมูลจากรายงานก๊าซเรือนกระจกของโลก (Greenhous gas (GHG) of All World Countries) ระบุว่า ก๊าซเรือนกระจกมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนน่าตกใจ ข้อมูลล่าสุดปี 2022 ทั่วโลกปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 53,800 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (ไม่รวมการดูดซับและการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกจากภาคป่าไม้) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 1.4 เปอร์เซ็นต์ หรือ 730 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยที่จีน สหรัฐอเมริกา อินเดีย สหภาพยุโรป 27 ประเทศ รัสเซีย และบราซิล เป็น 6 ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ที่สุดของโลก คิดเป็น 61.6 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณการปล่อยทั้งหมด และจีนเป็นประเทศที่ปล่อยมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก ที่ 29 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจกนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน ที่ก้าวกระโดดอย่างมากในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา สำหรับประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับที่ 22 หรือ 0.86 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณการปล่อยทั้งหมด ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจำนวนมหาศาลที่ถูกปล่อยและสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศ ได้ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนปัจจุบันแตะระดับที่ 1.1 องศาเซลเซียส ใกล้ระดับวิกฤตที่ 1.5 องศาเซลเซียสเข้าไปทุก

 

 

     อีกสาเหตุที่ทำให้ปี 2024 ร้อนระอุกว่าปีไหน ๆ นั้นก็คือ การมาเยือนของปรากฏการณ์เอลนีโญ (เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกี่ยวของกับการหมุนเวียนของอากาศและกระแสน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิก ที่กั้นระหว่าง ทวีปเอเชียและทวีปอเมริกา ปกติกระแสลมจะพัดจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก นำพากระแสน้ำอุ่นจากทวีปอเมริกาใต้มายังอินโดนีเซีย ทำให้เกิดฝนตกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ปรากฏการณ์เอลนี โญ ทำให้กระแสน้ำอุ่นไหลในทิศทางตรงกันข้ามกัน จึงทำให้ฝนตกในทวีปอเมริกาใต้มาก ในขณะที่ประเทศในแทบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียร้อนแห้งแล้งและขาดฝน) ซึ่งทำให้ไทยต้องเผชิญกับอากาศร้อน แห้งแล้ง เพิ่มขึ้นไปอีก โดยปกติปรากฏการณ์เอลนีโญสามารถดันให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นได้อีก 0.2 องศาเซลเซียส เมื่อภาวะโลกร้อนกับเอลนีโญมาเจอกัน ทำให้ประเทศไทยเผชิญกับอากาศร้อนรุนแรงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แตะระดับสูงสุดที่ 44.2 องศาเซลเซียส และยิ่งทำให้อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้นเข้าใกล้ระดับวิกฤต ที่นานาประเทศตกลงกันไว้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส อาจมีคำถามว่า ภาวะโลกร้อนนั้นส่งผลต่อปรากฏการณ์เอลนีโญหรือไม่ ทำไมจึงรู้สึกว่าผลกระทบจากเอลนีโญรอบนี้ดูเหมือนจะหนักหนาสาหัสกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา ?

 

     แม้จะยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัดในเรื่องนี้ แต่สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์พอจะยืนยันได้ในขณะนี้คือ ความรุนแรงและความถี่ในการเกิดเอลนีโญจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมาเทียบเท่า โดยที่จีน สหรัฐอเมริกา อินเดีย สหภาพยุโรป 27 ประเทศ รัสเซีย และบราซิล เป็น 6 ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ที่สุดของโลก คิดเป็น 61.6 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณการปล่อยทั้งหมด และจีนเป็นประเทศที่ปล่อยมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก ที่ 29 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจกนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน ที่ก้าวกระโดดอย่างมากในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา

       สำหรับประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับที่ 22 หรือ 0.86 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณการปล่อยทั้งหมด ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจำนวนมหาศาลที่ถูกปล่อยและสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศ ได้ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนปัจจุบันแตะระดับที่ 1.1 องศาเซลเซียส ใกล้ระดับวิกฤตที่ 1.5 องศาเซลเซียสเข้าไปทุก ถึงจะยังไม่ชัดเจนว่าภาวะโลกร้อนมีผลมากน้อยแค่ไหนกับปรากฏการณ์เอลนีโญ แต่ความจริงที่ว่า มนุษย์ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากจนทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นจนเข้าสู่ภาวะโลกเดือด เป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ ถึงเวลาแล้วที่ต้องช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง โดยเฉพาะภาคธุรกิจซึ่งมีศักยภาพและความพร้อมสูงที่จะผลักดันให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างมีนัยสำคัญ หากไม่ลงมือเสียตั้งแต่ตอนนี้ หาไม่แล้วหายนะจากสภาพอากาศสุดขั้ว คงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่พ้น เมื่อถึงเวลานั้นก็คงช้าเกินไป


________
#Climatecare #เรื่องโลกร้อนที่ต้องรู้และแคร์ 

 

Reference

https://edgar.jrc.ec.europa.eu/report_2023#main_findings

https://www.statista.com/statistics/500524/worldwide-annual-carbon-dioxide-emissions-by-select-country/

https://ourworldindata.org/greenhouse-gas-emissions

https://research.noaa.gov/2020/11/09/new-research-volume-explores-future-of-enso-under-influence-of-climate-change/#:~:text=%E2%80%9CExtreme%20El%20Ni%C3%B1o%20and%20La,stronger%20than%20they%20are%20today.%E2%80%9D

https://fews.net/topics/special-topics/el-nino-2023-2024

https://www.metoffice.gov.uk/research/climate/seasonal-to-decadal/gpc-outlooks/el-nino-la-nina

ผู้เข้าชม  493