มูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง(วิสาหกิจเพื่อสังคม)

นวัตกรรม และกระบวนการพัฒนาสังคม เพื่อแก้ปัญหาหมอกควัน ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ด้วยเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่เข้าถึงการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม และช่วยลดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืนผาปังโมเดล

นวัตกรรม และกระบวนการพัฒนาสังคม เพื่อแก้ปัญหาหมอกควัน ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ด้วยเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่เข้าถึงการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม และช่วยลดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืนผาปังโมเดล
ชื่อกิจกรรม :
นวัตกรรม และกระบวนการพัฒนาสังคม เพื่อแก้ปัญหาหมอกควัน ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ด้วยเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่เข้าถึงการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม และช่วยลดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืนผาปังโมเดล
วันที่ :
31/08/2024 - 31/12/2024
สถานที่ :
33/3 หมู่3 ตำบลผาปัง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง
ตำบล/แขวง :
ผาปัง
อำเภอ/เขต :
แม่พริก
จังหวัด :
ลำปาง
รายละเอียดกิจกรรม :

การดำเนินงาน จะมุ่งเน้นความสำเร็จในการพัฒนาต้นแบบวิจัย (Prototype) และพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทนที่ใช้เชื้อเพลิงพลังงานคุณภาพสูง เพื่อการจัดการ รวบรวม แปรรูปเศษวัสดุการเกษตร เพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงพลังงานคุณภาพสูง(High quality energy fuel) และผลิตถ่านชีวภาพ(Biochar) มาตรฐานสากล ด้วยระบบคาร์บอไนซ์เซชั่น ไพโรไลซีสแบบช้า(Slow Pyrolysis) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในภาคการเกษตร ปศุสัตว์ อุตสาหกรรมชุมชน ที่สร้างสรรค์มูลค่าเพิ่ม ที่สามารถส่งต่อเป็นห่วงโซ่คุณค่าเพื่อการขยายผลเชิงพาณิชย์ ที่ก้าวไปถึงขีดความสามารถในการแข่งขันว่าด้วย กิจการแบ่งปันคาร์บอน ด้วยเทคโนโลยีพลังงานชีวมวลที่มีการกำจัด และกักเก็บคาร์บอน Biomass with Carbon Removal & Storage : BiCRS Technology ซึ่งใช้ชีวมวล Biomass จากเศษวัสดุทางการเกษตรผลิตเชื้อเพลิงคุณภาพสูง หรือผลิตภัณฑ์ถ่านชีวภาพ Biochar ซึ่งรวมไปถึงการใช้ประโยชน์จากกระบวนการทางชีวภาพ เพื่อเพิ่มปริมาณคาร์บอนในดิน ป่าไม้ และระบบนิเวศ อาทิ เพื่อการฟื้นฟูป่า Reforestation และเทคนิคการกักเก็บคาร์บอนในดิน Soil Carbon Sequestration Techniques โดยมีแผนการดำเนินงานดังนี้

แผนงานที่ 1 สรุปบทเรียน ออกแบบ นวัตกรรมสังคม กระบวนการขับเคลื่อน วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน เพื่อขับเคลื่อนการขยายผลเชิงนโยบาย (Policy Sandbox) ที่ครอบคลุมในกระบวนการต่าง ๆ ของการดำเนินงาน ทั้งงานกิจวัตร งานเพิ่มประสิทธิภาพ การควบคุมคุณภาพ อย่างมีมาตรฐาน( Standard Operating Procedure : SOP) ที่สอดคล้องกับทุน”สิ่งแวดล้อม และการกำกับกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคม อย่างเข้าถึง การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม(Just Energy Transition) และช่วยลดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ(Climate Change) ที่ครอบคลุมนวัตกรรมสังคม กระบวนการปลูก การฟื้นฟู การรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และป่าไม้ โดยมี“คน”ในชุมชน เป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อน”ทุน”ทางสังคม “ทุน”ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ภายใต้ข้อจำกัดเชิงพื้นที่ให้ก้าวไปถึงขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยการส่งเสริม “ทุน” ทักษะ ความรู้ จากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานทุกภาคส่วน  เพื่อยกระดับการเกษตร ที่รู้แหล่งที่มาของสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับการนำไปใช้ประโยชน์ที่สอดคล้องกับกิจวัตร เพิ่มประสิทธิภาพ การควบคุมคุณภาพการผลิต การบริการพลังงานที่สามารถทวนสอบ(Verify) และสร้างมูลค่าเพิ่ม ที่ให้อัตราผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment (SROI) ที่คุ้มค่าในการลงทุน ส่งต่อเป็นห่วงโซ่คุณค่า(Values chain) และคุ้มค่าในบริการเครือข่ายอุตสาหกรรม และเกษตรกรชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

แผนงานที่ 2 : ส่งเสริมการผลิต การใช้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน(Renewable Energy) อุปกรณ์เครื่องมือ เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ เพื่อจัดการสิ่งแวดล้อม ที่สามารถเข้าถึงการลดการเผา ลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจก ลดการปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5  ในพื้นที่เป้าหมาย ด้วยเทคโนโลยีชีวมวลที่มีการกำจัด และกักเก็บคาร์บอน Biomass with Carbon Removal & Storage : BiCRS Technology ซึ่งใช้ชีวมวล Biomass เพื่อผลิตเชื้อเพลิงพลังงานสะอาด(Bio Fuel) หรือผลิตภัณฑ์ที่ทนทาน Durable Products เช่น ถ่านชีวภาพ Biochar ซึ่งรวมไปถึงการฉีดน้ำมันชีวภาพลงไปใต้ดิน Bio-Oil Underground Injection และวิธีการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์บนบก Land-Based Carbon Dioxide Removal : CDR Methods ที่ใช้ประโยชน์จากกระบวนการทางชีวภาพ เพื่อเพิ่มปริมาณคาร์บอนในดิน ป่าไม้ และระบบนิเวศบนบกอื่น ๆ เช่น การปลูกป่า Afforestation, การฟื้นฟูป่า Reforestation และเทคนิคการกักเก็บคาร์บอนในดิน Soil Carbon Sequestration Techniques 

แผนงานที่ 3 : ส่งเสริมสาธิต ทดสอบกระบวนการ เพิ่มประสิทธิภาพ การควบคุมคุณภาพ อย่างมีมาตรฐาน( Standard Operating Procedure : SOP) การผลิต การใช้ประโยชน์ การซ่อมบำรุงรักษาเทคโนโลยี และการจัดการกิจการเพื่อสังคมเศรษฐกิจสร้างสรรค์(Creative Economy) ของวิสาหกิจพลังงานเพื่อสังคมบ้านดอยหลวง อย่างถูกต้อง คุ้มค่า และเป็นธรรม 

แผนงานที่ 4 : การทวนสอบ(Verify) ประเมินผล มูลค่าเพิ่ม ที่ส่งต่อเป็นห่วงโซ่คุณค่า(Values chain) ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และพลังงาน ที่ก้าวไปถึงกิจการเพื่อสังคม ที่ว่าด้วยการแบ่งปัน คาร์บอนรีมูฟวอล Carbon Dioxide Removal : CDR หรือการปล่อยมลพิษเป็นลบสุทธิ Negative Emissions,คาร์บอนฟุตปริ้นท์ผลิตภัณฑ์(CFP),กิจการชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset) ภายในประเทศ และหรือระดับสากล

ผู้เข้าชม  63