มูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง(วิสาหกิจเพื่อสังคม)

จุดเริ่มต้น (Beginning Point)

สู่การสร้างสรรค์ (Social Innovation)

เกษตรครัวเรือน วิสาหกิจการเกษตร และอุตสาหกรรมเกษตรในประเทศไทยนั้น ได้รับผลกระทบจากการผันแปรของราคาเชื้อเพลิงพลังงาน จากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในเครื่องกลการเกษตร ผลิตพลังงานในการประกอบกิจการเกษตร ตั้งแต่ “กระบวนการ...

อ่านต่อ...

ข้อมูลติดต่อ (Contact)

พร้อมรับการแบ่งปัน (Want to grow)

เงินทุน 2 ล้าน บาท
ซื้อสินค้าและบริการ ระบุประเภทสินค้า/บริการ เทคโนโลยีการผลิตถ่านชีวภาพ
สถานที่หรือช่องทางการจัดจำหน่าย
สถานที่จัดกิจกรรม
ที่ปรึกษา/ผู้เชียวชาญ/วิทยากร/ ในเรื่อง การตลาด
อื่นๆ ปัจจบันมีความร่วมมือกับสำนักวิจัยป่าไม้ กรมป่าไม้

กิจกรรมดีๆ เพื่อสังคม (ImpactBiz Show)

“สังคมคาร์บอนต่ำ”เป็นปัจจัยสำคัญหลักในทางออกที่ช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน อันเกิดจาก “คน” ที่เชื่อได้ว่าจะเป็นการลดความเสี่ยง และลดความรุนแรงดังกล่าวได้อย่างยั่งยืน ด้วยเพราะ”คน”เป็นสังคมที่ทุกคนและทุกภาคส่วนในสังคมร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือลดการปล่อยคาร์บอนในกิจกรรมต่าง ๆ อย่างจริงจังและได้ผล พร้อมกับสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี รักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน และมีความสุข จึงกำหนดแนวทางการพัฒนาชุมชน สู่สังคมคาร์บอนต่ำ และทุก”คน”ทุกภาคส่วน จึงมุ่งเป้าสู่การขับเคลื่อนดังนี้ 1) การรักษา การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และป่าไม้ : ภาคป่าไม้ มีบทบาท สำคัญต่อการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน เนื่องจากป่าไม้เป็นแหล่งสะสมคาร์บอนขนาดใหญ่ของ โลก และต้นไม้สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศแล้วมาเก็บสะสมไว้ในรูปของ มวลชีวภาพทั้งในส่วนเหนือพื้นดินและใต้ดิน ทำให้คาร์บอนมีการตรึงไว้ในต้นไม้จนกว่าจะมีการตัด ต้นไม้ออกจากพื้นที่ไป ทั้งนี้ต้นไม้ยังช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนสู่บรรยากาศและช่วยบรรเทา ความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อีกด้วย ป่าไม้คือทรัพยากรที่สำคัญในการช่วยดูดชับคาร์บอนในชั้นบรรยากาศและกักเก็บไว้ และยังทำหน้าที่เป็นแหล่งอนุรักษ์น้ำ แหล่งอนุรักษ์ดิน แหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งช่วยให้เรารับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้อย่างดีในอนาคต และการเพิ่มพื้นที่สีเขียวมีส่วนทำให้ต้นไม้ที่ดูดชับคาร์บอนเพิ่มขึ้น ช่วยลดอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของพื้นที่โดยรอบจากการคายน้ำของต้นไม้ สร้างร่มเงาบังแดดให้แก่อาคาร ช่วยให้การใช้พลังงานของระบบปรับอากาศในอาคารลดลง ยังไม่นับคุณค่าทางจิตใจที่มนุษย์ต้องการสัมผัสธรรมชาติเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและพื้นที่สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนเมือง 2) กระบวนการสร้างความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม : Eco – Friendly หรือความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นอีกแนวคิดสำคัญของการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ โดยการใส่ใจต่อสินค้าหรือบริการตลอดทั้งวงจรชีวิตในภาคการเกษตร ปศุสัตว์ อาหาร อุตสาหกรรม และป่าไม้ ก็เป็นอีกสาขาเศรษฐกิจหนึ่งซึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมามาก โดยเฉพาะจากการเผาป่าเพื่อทำการเกษตรหรือเก็บของป่า ซึ่งทำให้เกิดปัญหามลพิษตามมาเช่น ทำให้เกิด PM 2.5 ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน โดยแต่ละปี PM 2.5 ทำให้คนไทยเสียชีวิตถึง 3.1 หมื่นคนและทำให้เกิดความสูญเสียปีสุขภาวะ (Disability-Adjusted Life Years: DALYs) ประมาณปีละ 6.6 แสนปี อย่างไรก็ตามการจัดเก็บภาษีคาร์บอนจากสาขาดังกล่าวทำได้ยากมากในทางปฏิบัติ ทั้งที่มีจุดในการจัดเก็บจำนวนมาก นอกจากนี้มาตรการห้ามเผาป่าที่รัฐบาลพยายามดำเนินการมาหลายปีก็ไม่มีประสิทธิผลที่ทำให้ประชาชนในพื้นที่ยอมรับปฏิบัติตาม ทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวคือ การพัฒนาตลาดคาร์บอนเครดิต (carbon credit market) ในลักษณะภาคสมัครใจ ซึ่งจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรและผู้ยังชีพด้วยการหาของป่ามีรายได้จากการรักษาป่า เนื่องจากจะสามารถขายคาร์บอนเครดิตให้แก่ผู้ต้องการซื้อได้ และทำให้เกิดประโยชน์ร่วม (co-benefit) ต่อสังคมในการลดปัญหามลพิษจากการป้องกันการเผาป่า และแปลงเกษตรกรรม อย่างไรก็ตาม ต้องมีหลักประกันว่ากิจกรรมที่จะได้รับคาร์บอนเครดิตนั้น ต้องเป็นกิจกรรมที่ช่วยลดคาร์บอนได้เพิ่มขึ้นจากเดิม (additionality) โดยต้องมีกลไกในการทวนสอบ(Verify) ที่น่าเชื่อถือ และต้องไม่ใช่กิจกรรมที่ถูกกำหนดโดยมาตรการอื่นๆ ของรัฐไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานภาคบังคับ หรือการเก็บภาษีคาร์บอน เนื่องจากหากมีมาตรการภาคบังคับแล้ว กิจกรรมดังกล่าวก็จะไม่สามารถช่วยลดคาร์บอนเพิ่มเติมได้ จึงเป็นเหตุและผล มาตรการ กระบวนการ และพัฒนามูลค่าเพิ่มจากการจัดการเศษวัสดุเกษตร กิ่งไม้ ใบไม้ จากทรัพยากรป่าไม้ และขยะ โดยกำหนดให้”คน”ในพื้นที่มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ โดยอาศัยหลักการดูแลสิ่งแวดล้อม 3 ประการที่เข้าใจง่าย และเรียงตามความสำคัญ คือ 2.1 Reduce ลดการผลิต ลดการเผา และลดการใช้พลังงานฟอสซิล เกินความจำเป็น 2.2 Reuse นำเศษวัสดุเกษตร กิ่งไม้ ใบไม้ จากทรัพยากรป่าไม้ และขยะมาแปรรูป สร้างมูลค่าเพิ่ม และพัฒนาคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ (CFP) ทดแทนการใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง 2.3 Recycle นำผลิตภัณฑ์แปรูปจากเศษวัสดุเกษตร กิ่งไม้ ใบไม้ จากทรัพยากรป่าไม้ และขยะกลับมาใช้ใหม่ นำวัสดุสิ่งของที่อาจใช้ซ้ำไม่ได้แล้วกลับมาแปรรูปให้กลับมาใช้ได้ใหม่ 3) “พลังงาน”หมุนเวียน เทคโนโลยี นวัตกรรม พลังงานทางเลือกในสังคม เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่าย การประหยัดพลังงาน เป็นพื้นฐานแรกของการลดการปล่อยคาร์บอน และการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานจากเชื้อเพลิงชีวภาพ ชีวมวล มาทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นตัวการใหญ่ของการปล่อยคาร์บอนที่สร้างปัญหาภาวะโลกร้อน โดยนำเอารายได้จากภาษีคาร์บอนภาคพลังงานไปใช้เพื่อสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคการผลิต ให้ประชาชนกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มภาคการเกษตรในพื้นที่ชนบทห่างไกล เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ โดยการให้เงินอุดหนุน (subsidy) ในการพัฒนา และการใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ และการกำหนดมาตรฐานต่างๆ เช่นมาตรฐานเชื้อเพลิง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นต้น โครงการ “พัฒนานวัตกรรม และกระบวนการพัฒนาพลังงานเพื่อสังคม เพื่อแก้ปัญหาหมอกควัน ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ด้วยเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่เข้าถึงการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม และช่วยลดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน” Expanding the prototype innovation and the process of developing energy for society to solve the problem of smog and PM 2.5 dust in wildlife sanctuaries with renewable energy technology that provides access to fair energy transition and helps reduce climate change sustainably. โดยการดำเนินโครงการครั้งนี้ จะมุ่งเน้นความสำเร็จในการใช้นวัตกรรมสังคม กระบวนการ วิทยาศาสตร์ วิจัย และเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนเพื่อการขยายผลเชิงนโยบาย (Policy Sandbox) ที่ครอบคลุมในกระบวนการต่าง ๆ ของการดำเนินงาน ทั้งงานกิจวัตร งานเพิ่มประสิทธิภาพ การควบคุมคุณภาพ อย่างมีมาตรฐาน( Standard Operating Procedure : SOP) ที่สามารถทวนสอบ(Verify) ประเมินผล มูลค่าเพิ่ม ที่ส่งต่อเป็นห่วงโซ่คุณค่า(Values chain) ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และพลังงาน ที่ก้าวไปถึงกิจการเพื่อสังคม ที่ว่าด้วยการแบ่งปัน คาร์บอนรีมูฟวอล Carbon Dioxide Removal : CDR หรือการปล่อยมลพิษเป็นลบสุทธิ Negative Emissions ,คาร์บอนฟุตปริ้นท์ผลิตภัณฑ์(CFP) ,กิจการชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset) ภายในประเทศ และระดับสากล ด้วยข้อจำกัด และปัญหาอุปสรรคดังกล่าว การพัฒนานวัตกรรมพลังงานหมุนเวียนจากชีวมวล และชีวภาพระดับชุมชน ที่มีนวัตกรรมสังคม กระบวนการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และมีการนำกลับมาใช้ประโยชน์นวัตกรรมเชิงพื้นที่อย่างมีมาตฐาน(Standard Operating Procedure : SOP) และสามารถนำไปขยายผล ส่งต่อมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจชุมชนในเชิงพาณิชย์ได้อย่างเข้าถึงการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม และให้อัตราผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment (SROI) ที่มีความคุ้มค่าในการลงทุน และหรือประเมินความคุ้มค่าด้วยเครื่องมือต่าง ๆ เช่น Benefit Cost ที่สรรค์สร้าง จะเป็นแนวทางการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจพลังงานอย่างเข้าถึงการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม(Just Energy Transition) และช่วยแก้ปัญหาหมอกควัน การปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจก CO2e และลดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ(Climate Change) ในอนาคตที่ทุกคน ทุกภาคส่วน ทุกหน่วยงาน จำเป็นต้องตระหนักรู้ ถึงความสำคัญ และมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน ซึ่งเป็นทางออกที่สามารถช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน ด้วย”ทุนคน” และ”ทุนสิ่งแวดล้อม” และ”ทุนการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน” ที่ทุกคนและทุกภาคส่วน ทุกหน่วยงานในสังคมจำเป็นต้องร่วมมือกันออกแบบ กระบวนการขับเคลื่อนภายใต้กรอบแนวคิด การเปลี่ยน “ภาระ” ให้เป็น “พลัง” เปลี่ยน “หน้าที่” ความรับผิดชอบของหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน ให้เป็นสิ่ง “น่าทำ” ในการแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบทางสังคม โดยเปลี่ยนรูปแบบการมีส่วนร่วมเชิง “กิจกรรม” ให้เป็นการมีส่วนร่วมอย่างเข้าถึง ทั่วถึง ถูกต้อง และเป็นธรรมในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของภาคประชาชน ที่สามารถก้าวไปถึงการมีส่วนร่วมในรูปแบบ “กิจการพลังงานเพื่อสังคมยั่งยืน” โดยมีรายละเอียด และวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานดังนี้ 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อออกแบบ นวัตกรรมสังคม กระบวนการขับเคลื่อน วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน เพื่อขับเคลื่อนการขยายผลเชิงนโยบาย (Policy Sandbox) ที่ครอบคลุมในกระบวนการต่าง ๆ ของการดำเนินงาน ทั้งงานกิจวัตร งานเพิ่มประสิทธิภาพ การควบคุมคุณภาพ อย่างมีมาตรฐาน( Standard Operating Procedure : SOP) ที่สอดคล้องกับทุน”ทางวัฒนธรรม(Cultural Capital) และ”ทุน” สิ่งแวดล้อม และการกำกับกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคม อย่างเข้าถึง การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม(Just Energy Transition) และช่วยลดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ(Climate Change) อย่างยั่งยืน 2.2 เพื่อส่งเสริมการติดตั้งเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน(Renewable Energy) อุปกรณ์เครื่องมือ เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ เพื่อจัดการสิ่งแวดล้อม ที่สามารถเข้าถึงการลดการเผา ลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจก ลดการปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในพื้นที่เป้าหมาย ด้วยเทคโนโลยีพลังงานชีวมวลที่มีการกำจัด และกักเก็บคาร์บอน Biomass with Carbon Removal & Storage : BiCRS Technology ซึ่งใช้ชีวมวล Biomass เพื่อผลิตเชื้อเพลิงคุณภาพสูงพลังงานสะอาด(Green Energy) หรือผลิตภัณฑ์ถ่านชีวภาพ Biochar ซึ่งรวมไปถึงการฉีดน้ำมันชีวภาพลงไปใต้ดิน Bio-Oil Underground Injection และวิธีการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์บนบก Land-Based Carbon Dioxide Removal : CDR Methods ที่ใช้ประโยชน์จากกระบวนการทางชีวภาพ เพื่อเพิ่มปริมาณคาร์บอนในดิน ป่าไม้ และระบบนิเวศบนบกอื่น ๆ การฟื้นฟูป่า Reforestation และเทคนิคการกักเก็บคาร์บอนในดิน Soil Carbon Sequestration Techniques 2.3 เพื่อส่งเสริมสาธิต กระบวนการ เพิ่มประสิทธิภาพ การควบคุมคุณภาพ อย่างมีมาตรฐาน( Standard Operating Procedure : SOP) การผลิต การใช้ประโยชน์ การซ่อมบำรุงรักษาเทคโนโลยี และการจัดการกิจการเพื่อสังคมเศรษฐกิจสร้างสรรค์(Creative Economy) ของวิสาหกิจพลังงานเพื่อสังคมตำบลผาปัง 2.4 เพื่อทวนสอบ(Verify) ประเมินผล มูลค่าเพิ่ม ที่ส่งต่อเป็นห่วงโซ่คุณค่า(Values chain) ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และพลังงาน ที่ก้าวไปถึงกิจการเพื่อสังคม ที่ว่าด้วยการแบ่งปัน คาร์บอนรีมูฟวอล Carbon Dioxide Removal : CDR หรือการปล่อยมลพิษเป็นลบสุทธิ Negative Emissions,คาร์บอนฟุตปริ้นท์ผลิตภัณฑ์(CFP),กิจการชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset) ภายในประเทศ และหรือระดับสากล ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ การพัฒนานวัตกรรม และกระบวนการพัฒนาพลังงานเพื่อสังคม เพื่อแก้ปัญหาหมอกควัน ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ด้วยเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่เข้าถึงการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม และช่วยลดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน โดยจะก่อให้เกิดประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการดังนี้ 1 ด้านสังคม ได้พัฒนายกระดับศักยภาพ “คน”ชาติพันธุ์(ลั๊ว) อำเภอแม่พริก-เถิน จังหวัดลำปาง,อำเภอดอย เต่า อมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่, อำเภอลี้ ลำพูน,อำเภอสามเงา แม่ระมาด ท่าสองยาง จังหวัดตาก,อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย, และอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ให้มีทักษะความรู้ ความสามารถในการจัดการ การเก็บกวาด ทำความสะอาด การรวบรวม การใช้ประโยชน์เศษวัสดุเกษตร ในรูปแบบองค์กรภาคประชาสังคม “วิสาหกิจพลังงานเพื่อสังคม” อย่างมีกระบวนการมาตรฐาน (Standard Operating Procedure : SOP) ที่สามารถทวนสอบ(Verify) และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และส่งต่อเป็นห่วงโซ่คุณค่า(Values chain) ที่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของชุมชน ใน“สภาวะที่คนทุกคนและทุกขณะเวลา สามารถเข้าถึงการเปลี่ยนผ่าน และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ อย่างทั่วถึง เพียงพอ เท่าเทียม ปลอดภัย และเป็นธรรม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 90 2 ด้านสิ่งแวดล้อม เกิดกระบวนการ(โมเดล) การจัดการทรัพยากรฐานชีวภาพ ในพื้นที่ชุมชนเป้าหมาย รวมถึงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตามมาตรา 64,67,121 แห่ง พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และ พร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2535/2562 และพื้นที่ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ และพ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ.2562 จากกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน จากการปลูก ฟื้นฟู การอนุรักษ์ดินและน้ำ เช่น ช่วยเพิ่มปริมาณและคุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภค และบริโภค ต้นไม้ที่อยู่ในป่าช่วยลดการพังพลายของดินจากการยึดเกาะของราก รวมถึงการจัดเก็บรวบรวมเศษวัสดุ และทรัพยากรฐานชีวภาพในท้องถิ่น เพื่อช่วยลดการเผา ลดหมอกควัน ลดการปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจก ก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ในพื้นที่กว่า 100,000 ไร่ ที่สามารถช่วยกักเก็บคาร์บอน 1,512,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า(tCO2eq) 3 ด้านเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของหน่วยงานทุกภาคส่วนพัฒนา “กิจการเพื่อสังคมสร้างสรรค์(Creative Economy) ที่สามารถแก้ปัญหาการเข้าถึง การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม(Just Energy Transition) ที่สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจพลังงานอย่างคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาสังคมคาร์บอนต่ำในชุมชน/ท้องถิ่น ด้วยการใช้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน(Renewable Energy) ที่ใช้ถ่านเชื้อเพลิงชีวภาพคุณภาพสูง และเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานกว่าร้อยละ 50 จนเกิดการพัฒนาชุมชนอย่างคุ้มค่า และยั่งยืน ที่สามารถเชื่อมโยงส่งต่อ และก้าวไปถึงกิจการเพื่อสังคมว่าด้วยการแบ่งปันคาร์บอนฟุตปริ้นทรีมูฟวอล(Carbon removal) เป็นต้น
“มหาบุญจุลกฐิน สรรค์สร้างสังคมคาร์บอนต่ำ”ประจำปี 2567 จุลกฐิน คือ ประเพณีทอดกฐินอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า จุลกฐิน นิยมกันมาตั้งแต่โบราณกาล เริ่มตั้งแต่เก็บเอาดอกฝ้าย มาปั่น มากรอ มาสาง เป็นเส้นด้ายแล้ว ก็เอามาทอเป็นผ้า ตัดเย็บ รีด แล้วนำไปทอดเป็นผ้ากฐิน พระสงฆ์รับแล้วก็รีบกรานกฐินในวันนั้นด้วย ทำดังนี้จึงเป็นจุลกฐิน กว่าจะเป็นจุลกฐินได้จะต้องใช้ผู้คนมาก แบ่งหน้าที่กันทำ ช่วยเหลือกันคนละไม้คนละมือจุกๆ จิกๆ และมีความชำนาญเป็นพิเศษ กะเวลาได้ถูกจึงจะเสร็จทันเวลา จึงมีความเชื่อกันว่า การทอดจุลกฐินนี้ จะกระทำในพิธีใหญ่ที่ถวายสร้างในสิ่งปลูกสร้างสิ่งมงคลสูงสุด เพื่อแด่ผู้ที่ร่วมกฐินจะได้ อานิสงส์บุญมากด้วยบุญและบารมี ดังนั้น การจัดงานมหาบุญพิธี “จุลกฐิน สร้างสังคมคาร์บอนต่ำ”ของวัดผาปังกลาง เป็นนวัตกรรมสังคมกระบวนการ ที่เริ่มด้วยการพัฒนาแปลงปลูกพืชเกษตรฝ้าย ไผ่ ดอกไม้ ในชุมชน แล้วนำพืชเกษตรมาใช้ประโยชน์หมุนเวียน เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ ที่สร้างสังคมคาร์บอนต่ำในวัด อาทิ การพัฒนาพระพุทธรูปด้วยเกสรดอกไม้ผสมถ่านชีวภาพ, ผลิตภัณฑ์ผ้ากฐิน เบาะ อาสน ,ผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้าง พื้น ฝ้า เพดานของพระอุโบสถ ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจก ที่มีคุณสมบัติในการดูดซับ กักเก็บ ชดเชย และบริการมหาบุญที่ช่วยลดภาษีคาร์บอน และสร้างสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน วัดผาปังกลาง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง ได้ตระหนักถึงความสำคัญในกระบวนการ บริการอย่างเข้าถึงการเปลี่ยนผ่านทางสังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และเศรษฐกิจ ที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนนวัตกรรมสังคมด้วยการบำรุงพระศาสนาเชิงป้องกัน จึงได้ดำเนินโครงการ มหาบุญจุลกฐิน สร้างสังคมคาร์บอนต่ำ ประจำปี 2567 โดยมีรายละเอียด วิธีการ และวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน วัตถุประสงค์ : เพื่อกักเก็บ ชดเชย และบริการมหาบุญที่เชื่อมโยง ส่งต่อมูลค่าเพิ่ม ที่เป็นห่วงโซ่คุณค่า(Value chain) ทางเศรษฐกิจช่วยลดภาษีคาร์บอน ช่วยสรรค์สร้างสังคม ดูแลสิ่งแวดล้อม และสุภาพดี อย่างยั่งยืน
ผู้เข้าชม  10191