WISHULADA(วิชชุลดา) เราคือ Social Activist Artist เชื่อว่าไม่มีสิ่งใดที่ไร้ค่า และทุกคนมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้ให้กลับมาใช้งานได้ใหม่อีกครั้ง วิชชุลดา คือศิลปินที่ต้องการกระตุ้นสังคมโดยใช้ศิลปะเป็นตัวบ่งชี้ปริมาณขยะที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นสื่อกลางในการปลุกจิตสำนึกให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและสร้างแรงบันดาลใจ ให้กับทุกคนได้หมุนเวียนใช้ซ้ำ วัสดุเหลือใช้รอบตัว อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด เราเชื่อว่าพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ ที่คิดและดีไซน์กระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นทางให้เหลือเศษน้อยที่สุด จนถึงปลายทางที่นำวัสดุเหลือใช้มาใช้ซ้ำ จะช่วยสร้างงานสร้างอาชีพ และสนับสนุนกลุ่มคนทำงานฝีมือ และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืน เพราะปัญหาขยะ เป็นสิ่งที่ทุกคนพูดถึงมาเป็นระยะเวลายาวนาน ซึ่งไม่อาจแก้ไขได้ด้วยคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ทุกคน และทุกอาชีพ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
WISHULADA(วิชชุลดา) เราคือ Social Activist Artist เชื่อว่าไม่มีสิ่งใดที่ไร้ค่า และทุกคนมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้ให้กลับมาใช้งานได้ใหม่อีกครั้ง วิชชุลดา คือศิลปินที่ต้องการกระตุ้นสังคมโดยใช้ศิลปะเป็นตัวบ่งชี้ปริมาณขยะที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นสื่อกลางในการปลุกจิตสำนึกให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและสร้างแรงบันดาลใจ ให้กับทุกคนได้หมุนเวียนใช้ซ้ำ วัสดุเหลือใช้รอบตัว อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด เราเชื่อว่าพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ ที่คิดและดีไซน์กระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นทางให้เหลือเศษน้อยที่สุด จนถึงปลายทางที่นำวัสดุเหลือใช้มาใช้ซ้ำ จะช่วยสร้างงานสร้างอาชีพ และสนับสนุนกลุ่มคนทำงานฝีมือ และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืน เพราะปัญหาขยะ เป็นสิ่งที่ทุกคนพูดถึงมาเป็นระยะเวลายาวนาน ซึ่งไม่อาจแก้ไขได้ด้วยคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ทุกคน และทุกอาชีพ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
เจตนารมณ์ ลดปัญหาขยะตั้งแต่ต้นทางผู้ผลิต และผู้บริโภค ด้วยความคิดสร้างสรรค์
วิสัยทัศน์ เป็นผู้นำในการกระตุ้นสังคมโดยใช้ศิลปะเพื่อเป็นตัวบ่งชี้ปริมาณขยะที่เกิดขึ้น และปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและสร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคนได้หมุนเวียนใช้ซ้ำ(Reuse & Upcycling) วัสดุเหลือใช้รอบตัว อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด
พันธกิจ
1. ใช้งานศิลปะ และงานดีไซน์ เป็นตัวชี้วัดปริมาณวัสดุเหลือใช้ ผสานวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ที่ อ้างอิงและคำนวณค่าผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นรูปธรรม
2. ร่วมกันพัฒนาสินค้า กับพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อสื่อสารเรื่องราวของการจัดการขยะ อย่างสร้างสรรค์
3. พัฒนาศักยภาพ ของทีมงาน เพื่อให้พร้อมรับการเติบโตของธุรกิจ
4. สนับสนุน และส่งเสริม งานศิลปะ งานฝีมือ หัตถกรรม ของคนไทย เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ และสร้างความภาคภูมิใจในศักยภาพของนักสร้างสรรค์
พฤติกรรมการใช้ชีวิตของสังคมเริ่มสนใจทางด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
1.1 พนักงานในองค์กร และสังคม เข้าใจเรื่องการใช้ซ้ำอย่างถูกวิธี และนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง
1.2 พฤติกรรมการใช้ชีวิตเปลี่ยน ใส่ใจเรื่องการหมุนเวียนทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์
1.3 เกิดแรงบันดาลใจใของพนักงานในองค์กร ในการนำศักยภาพของตนเองไปจัดการวัสดุเหลือใช้ต่อที่บ้าน
1.4ลดปริมาณวัสดุเหลือใช้ที่เกิดขึ้นในแต่ละภาคธุรกิจ ตั้งแต่ต้นทางการผลิต จนถึงปลายทางในการจัดการ
1.5การสร้างงานสร้างอาชีพให้กับกลุ่มชุมชน ช่างฝีมือ ของประเทศไทย ด้วยวัสดุเหลือใ้ช้
1.6การพัฒนาระบบความคิดสร้างสรรค์เพื่อการจัดการวัสดุเหลือใช้ในพื้นที่ของตนเอง
1.7สังคมเข้าใจกระบวนการลดการใช้(Reduce) และกระบวนการใช้ซ้ำ(Reuse) กันมากขึ้น ทำให้ปัญหาขยะในแต่ละภาคธุรกิจ ลดจำนวนลง
นำไปสู่ -การใช้ทรัพยากรใหม่ที่้น้อยลง ปัญหาขยะลดน้อยลง
และมี -ทรัพยากรมีหลงเหลือถึงคนรุ่นถัดไป